...
...
เผยแพร่: 10 ม.ค. 2562
หน้า: 1-8
ประเภท: บทความวิจัย
View: 1349
Download: 224
Download PDF
การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบัวเหลือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
The Action Research for Developing Mathematics Achievement on Geometry of Prathomsuksa 6 Students at Bua Lueang School Under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
นฤมล ซอลี, ภัทราพร เกษสังข์, นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์
Author
Narumon Solee, Pattharaporn Kessung, Narumon Sakpakornkan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเรขาคณิต ก่อนการพัฒนา 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนา และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเรขาคณิต ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบัวเหลือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 15 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเรขาคณิต (3) แบบทดสอบท้ายวงจร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิลคอกซัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัญหา นักเรียนไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรขาคณิต มีความบกพร่องในเรื่องการจำแนกประเภทของรูปเรขาคณิต และไม่สามารถเชื่อมโยงรูปเรขาคณิตสองมิติไปสู่เรขาคณิตสามมิติได้ นักเรียนบางคนไม่สามารถบอกได้ว่ามุมคู่ใดเป็นมุมแย้งหรือมุมคู่ใดเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน ไม่สามารถจำแนกรูปสี่เหลี่ยมโดยใช้สมบัติของเส้นทแยงมุมได้

2. ความคาดหวังผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเรขาคณิต ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม สามารถจำแนกชนิดของมุม ชนิดของรูปร่าง รูปทรงเรขาคณิต วิเคราะห์แบบรูปเรขาคณิตและรูปแบบอื่น ๆ ได้ แนวทางการพัฒนา จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านสื่อการสอนที่หลากหลาย  

3. ผลการพัฒนา พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์ เรื่องเรขาคณิต จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 เรื่องเส้นขนานนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 เรื่องรูปสี่เหลี่ยมนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 และหลังพัฒนานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเรขาคณิต สูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the problem state in mathematics achievement on geometry before developing, 2) to obtain expectation and development guidelines, and 3) to study the development result and compare the students’ mathematics achievement on geometry between the pre and post development. The target group used in research was 15 Prathomsuksa 6 students at Bua Lueang school under Khon Kaen primary educational service area office 2 by purposive sampling. The research instruments consisted of (1) 15 learning plans, (2) tests, (3) ended-loop tests and (4) vary instruction medias. Qualitative data was analyzed by using content analysis, while quantitative data was analyzed by using percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon match pairs sign rank test.

The research findings were as follows:

1. The problems were students did not have basic knowledge on geometry, disabilities in classification type of geometry shape, can not be linked from 2 dimensions geometry to 3 dimensions, can not tell which corner is the argument, which corner is the inner corner on the same side, and unrecognizable rectangle by used the diagonal features.

2. The development expectation that the students passed the criteria scores at 60 percent of full score. They could, understanding on geometry, able classified of angles, of shape type, of shape geometry, and analysis on geometry patterns. Development guidelines should be organiqed by students through a variety of teaching materials.

3. The development results found that 13 students passed the criteria of geometry at 86.68 percent. They passed the criteria of line parallel (12 person) at 80.00 percent, and 13 pupils passed the criteria of rectangle at 86.67 percent. After development, the students’ achievement on geometry was higher than before development with the statistical significance at .01 level.

คำสำคัญ

เรขาคณิต, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การวิจัยปฏิบัติการ

Keyword

Geometry, Achievement, Action research
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 24

วันนี้: 958

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,993

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033