...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2556
หน้า: 251-258
ประเภท: บทความวิจัย
View: 171
Download: 80
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม ร่วมกับกลวิธี STAR เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of Mathematics Learning Activites Based on Constructivism With Emphasis on the STAR Strategy Steps “System of Linear Equation” for Mathayom Suksa 3
ผู้แต่ง
เนตรชนก แสนทิพย์, มาลี ศรีพรหม, ประยูร บุญใช้
Author
Netchanok Santhip, Malee Sriprom, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับกลวิธี STAR เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน ของโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 สำนักงานเขตพื้นท่กี ารศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม ร่วมกับกลวิธี STAR แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม ร่วมกับกลวิธี STAR การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t–test แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม ร่วมกับกลวิธี STAR เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.78/77.20 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับกลวิธี STAR เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับกลวิธี STAR เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม ร่วมกับกลวิธี STAR เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นมีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์พอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.98

Abstract

The purposes of this research was to develop Mathematics Learning Activites Based on Constructivism with Emphasis on the STAR Strategy Step “System of Linear Equation” Mantayom Suksa 3. Selected subject who were selected, the subject were 50 Mantayom Suksa 3/4 students who enrolled in the first semester of the 2012 academic year at Sakolrajwittanukul School under Secondary Education Service Area office 23. Selected by Cluser Random selection. The research tools used were mathematics lesson plans Based on Constructivism with Emphasis on the STAR Strategy Step a learning achievement test learning mathematical problem–solving ability test and scale on satisfaction with the Learning Activites Based on Constructivism with Emphasis on the STAR Strategy Step. One Group Pre-test Post-test Design was used in this study. The collected data was analyzed by a percentage, means of arithmetic means, standard deviation, and t–test.

The finding were as follows :

1. Mathematics Learning Activites Based on Constructivism with Emphasis on the STAR Strategy Step “System of Linear Equation” Mantayom Suksa 3 was 79.78/77.20 which was higher than the criterion of 75/75.

2. The post-test learning achievement of Mathayom Suksa 3 students Mathematics Learning Activites Based on Constructivism with Emphasis on the STAR Strategy Step “System of Linear Equation” was signifucantly higher than the pretest at the .01 level.

3. The effects of learning mathematics Activites Based on Constructivism with Emphasis on the STAR Strategy Step “System of Linear Equation” on mathematics problem solving ability among Mathayom Suksa 3 students wer significantly higher than the criterion at the .01 level.

4. The student’s satisfaction of learning mathematics Activites Based on Constructivism with Emphasis on the STAR Strategy Step “System of Linear Equation” was at the highest level of 3.98.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 151

วันนี้: 1,332

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,884

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033