...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2556
หน้า: 161-170
ประเภท: บทความวิจัย
View: 155
Download: 81
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ตามรอยพระอริยสงฆ์เจ้าในอำเภอปลาปาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Development of a Subject Curriculum for the Learning Substance of Social Study, Religion and Culture Entitled “Following the Foot-Steps of the Greater Monks in Amphoe Plapak” for Prathom Suksa 3 at Ban Nadokmai School Under of Office of Nakhon Phanom Edu
ผู้แต่ง
คนึงนิจ ป้อมหิน, อุษา ปราบหงษ์, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Kanungnit Pomhin, Usa Prabhong, Potchaman Chumnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ตามรอยพระอริยสงฆ์เจ้าในอำเภอปลาปาก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ตามรอยพระอริยสงฆ์เจ้าในอำเภอปลาปาก 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียน โดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ตามรอยพระอริยสงฆ์เจ้าในอำเภอปลาปาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านนาดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ตามรอยพระอริยสงฆ์เจ้าในอำเภอปลาปาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t–test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ตามรอยพระอริยสงฆ์เจ้าในอำเภอปลาปาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ หลักการและเหตุผล จุดหมาย โครงสร้างหลักสูตร ขอบข่ายสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ แนวการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ตามรอยพระอริยสงฆ์เจ้าในอำเภอปลาปาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.36/88.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ตามรอยพระอริยสงฆ์เจ้าในอำเภอปลาปาก หลังเรียนสูงกว่าก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ตามรอยพระอริยสงฆ์เจ้าในอำเภอปลาปากอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were: 1) to develop of a subject curriculum for the learning substance of Social Study Religion and Culture entitled “Following the Foot-Steps of the Greater Monks” to be efficient by 80/80, 2) to compare achievement of the students between before and after learning by using a subject curriculum for the learning substance of Social Study Religion and Culture entitled “Following the Foot-Steps of the Greater Monks in Plapak District, and 3) to study students’ satisfaction for learning by using a subject curriculum for the learning substance of Social Study Religion and Culture entitled “Following the Foot-Steps of the Greater Monks. The sampling group was 22 students of Prathom Suksa 3, Ban Nadokmai School, Nakhon Phanom Educational Service Area Office 1, the 1st semester of the academic year 2011, obtained by Purposive Sampling technique. The research was One Group Pretest-Posttest design.

The research instruments consisted of: 1) the subject curriculum for the learning substance of Social Study Religion and Culture entitled “Following the Foot-Steps of the Greater Monks for Prathom Suksa 3 students, Ban Nadokmai School, Nakhon Phanom Educational Service Area Office 1, 2) the achievement test of learning, and 3) the satisfaction questionnaire. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).

The results of the research were found as the following :

1. The developed subject curriculum for the learning substance of Social Study Religion and Culture entitled “Following the Foot-Steps of the Greater Monks” for Prathom Suksa 3 students, Ban Nadokmai School, Nakhon Phanom Educational Service Area Office 1, had main components which were: rationale, objective, curriculum structure, scope of substance, learning standard, expected learning outcome, learning substance, subject description, learning unit, learning management guideline, learning media, learning measurement and evaluation and the developed curriculum, evaluated by the experts, was at the high level.

2. The efficiency of the developed subject curriculum for the learning substance of Social Study Religion and Culture entitled “Following the Foot-Steps of the Greater Monks” for Prathom Suksa 3 students, Ban Nadokmai School, Nakhon Phanom Educational Service Area Office 1 was 80.36/88.64, higher than the set criterion of 80/80.

3. The posttest learning achievement of the students studied by the developed subject curriculum for the learning substance of Social Study Religion and Culture entitled “Following the Foot-Steps of the Greater Monks”, was significantly higher than pretest at the .01 level.

4. The students’ satisfaction of the developed subject curriculum for the learning substance of Social Study Religion and Culture entitle “Following the Foot-Steps of the Greater Monks” was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 150

วันนี้: 1,301

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,853

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033