...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2556
หน้า: 107-116
ประเภท: บทความวิจัย
View: 199
Download: 89
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ TAI, STAD และ LT กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Development of Instructional Activities Using the Cooperative Learning of TAI, STAD and LT for the Learning Substance Group of Mathematics Entitled “Multiplication” for Prathom Suksa 4
ผู้แต่ง
ปิมปพาพร ป้อมหิน, อุษา ปราบหงษ์
Author
Pimpapaporn Pomhin, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ TAI, STAD และ LT กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ TAI, STAD และ LT เรื่อง การคูณ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอนแบบร่วมมือ TAI, STAD และ LT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพนสวางนางิ้ววิทยา กลุ่มเครือข่ายกุตาไก้นามะเขือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3. แบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม 4. แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มไม่อิสระจากกัน (Dependent Samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. กิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ TAI, STAD และ LT กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.70/81.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ TAI, STAD และ LT กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีพฤติกรรมความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม อยู่ในระดับดีมาก

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ TAI, STAD และ LT เรื่อง การคูณ อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were; 1) to develop the Cooperative Learning of TAI, STAD and LT for the Learning Substance Group of Mathematics entitled “Multiplication” for Prathom Suksa 4 to be efficient by 75/75 criterion, 2) to compare achievement of the students before and after learning by TAI, STAD and LT mathematics cooperative learning and teaching activities, entitled “Multiplication”, 3) to study students’ group cooperative behavior of Prathom Suksa 4 and 4) to study students’ satisfaction towards TAI, STAD and LT cooperative learning. The sample group was 22 students of Prathom Suksa 4, in the 2nd semester of the academic year 2011, Ponesawangnangew Wittaya school, Gudtagai-Namakue network, Nakhon Phanom Educational Service Area Office 1, obtained by Purposive Sampling and used One Group Pretest-Posttest Design was employed in this study.

The research instruments consisted of: 1. the lesson plan, 2. the achievement test, 3. group cooperative behavior assessment test and 4. the satisfaction questionnaire. The statistics used to analyse the data were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).

The results of the research were found as the following :

1. The Cooperative Learning of TAI, STAD and LT for the Learning Substance Group of Mathematics entitled “Multiplication”, which the researcher developed, was efficient at 80.70/81.97, higher than the set criterion of 75/75.

2. The posttest learning achievement of the students by the Cooperative Learning of TAI, STAD and LT for the Learning Substance Group of Mathematics entitled “Multiplication”, was significantly higher than the pretest at the .01 level.

3. The students had group cooperative behavior at the very good level.

4. The students’ satisfaction for the Cooperative Learning of TAI, STAD and LT for the Learning Substance Group of Mathematics entitled “Multiplication”, was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 149

วันนี้: 1,349

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,901

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033