...
...
เผยแพร่: 1 พ.ค. 2561
หน้า: 125-134
ประเภท: บทความวิจัย
View: 641
Download: 224
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการออกแบบของ ADDIE MODEL ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่องหลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
The Development of Learning Activities on “Principles of Computer Project Work” of Information and Communication Technology Subject for Mathayom Suksa 3 Using ADDIE MODEL Integrated with Backward Design
ผู้แต่ง
กุลกนก จั้นวันดี, สำราญ กำจัดภัย, ธนานันต์ กุลไพบุตร
Author
Kulkanog Junwandee, Sumran Gumjadphai, Thananan Kunpaibutr

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการออกแบบของ ADDIE MODEL ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่องหลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น (3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียน ภูดินแดงวิทยา สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการออกแบบของ ADDIE MODEL ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t–test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการออกแบบของ ADDIE MODEL ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เท่ากับ 78.60/81.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ที่ 75/75

2. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการออกแบบของ ADDIE MODEL ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการออกแบบของ ADDIE MODEL ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were (1) to develop and determine an efficiency index of the learning activities on “Principles of Computer Project Work” of Information and Communication Technology subject for Mathayom Suksa 3 using ADDIE MODEL integrated with Backward Design, to meet the criteria set of 75/75; 2) to compare the students’ learning achievement before and after the intervention; and 3) to examine the students’ satisfaction towards learning through the developed learning activities. The samples, obtained through a cluster random sampling, were 40 students studying in Mathayom Suksa 3 from Phudindaeng Wittaya School under the Division of Education, Religion and Culture of Sakon Nakhon Provincial Administration Organization. The research instruments comprised five lesson plans, the 30-item learning achievement test, and the 24-item satisfaction assessment form. The statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The results of this study were: 

1. The developed learning activities had its efficiency index of 78.60/81.58 which was higher than the criteria set of 75/75.

2. The mean scores of students’ learning achievement after the intervention were higher than the pre-intervention mean scores at the statistical significance level of .01.

3. The students’ satisfaction toward learning through the developed learning activities was at the highest level.

คำสำคัญ

ADDIE MODEL, การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ

Keyword

ADDIE MODEL, Backward Design
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 110

เมื่อวานนี้: 533

จำนวนครั้งการเข้าชม: 793,405

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033