บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิด ร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิด ร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิด ร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี หลังเรียน 5) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิด ร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ที่จำแนกตามความสามารถทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนบ้านหนองหอย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี จำนวน 15 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาไทย 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test for dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว (One-way MANCOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–way ANCOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซีเท่ากับ 0.61 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 61
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียน โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี อยู่ในระดับมาก
5. การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว (One-way MANCOVA) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานโดยใช้แผนผังความคิดร่วมกับการเรียนด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ระหว่างนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียน (เก่ง ปานกลาง และอ่อน) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
This study aimed to 1) investigate Effectiveness Index of the brain-based lesson plans using thinking diagrams in association with the CIRC technique constructed and developed by the researcher, 2) compare the students’ analytical thinking abilities before and after being taught by thinking diagrams in cooperation with the CIRC technique, 3) compare the effects of the students’ abilities in reading the Thai language before and after being taught using thinking diagrams in conjunction with the CIRC technique, 4) explore the students’satisfaction, after being taught, toward the brain-based learning activity management using thinking diagrams in collaboration with the CIRC technique, and 5) compare the students’analytical thinking abilities, learning achievements in Thai reading after being taught by thinking diagrams along with the CIRC technique. This research classified the students into low, moderate and high groups according to their abilities. Samples consisted of 30 students in Prathom Suksa 3 at Ban Nong Hoi School in the second semester of 2011 academic year selected by Cluster Random Sampling. Tools used in this study were composed of : 1) 15 lesson plans based on thinking diagrams together with the CIRC technique, 2) a form of analytical thinking ability measurement, 3) a test of learning achievement measurement, and 4) a form of satisfaction evaluation. Statistics used in data analysis comprised mean, standard deviation, t-test (Dependent Samples), One-way MANCOVA and One-way ANCOVA.
The findings of this study were as follows :
1. The effectiveness Index (E.I.) of the lesson plans using thinking diagrams in cooperation with the CIRC technique of 0.61 implied that these students’progresses were increased by 61 percent.
2. The average scores of analytical thinking abilities of the students after being taught by thinking diagrams in association with the CIRC technique were higher than those before learning at the .05 level of significance.
3. The average scores of the students’ learning achievements after they were taught by thinking diagrams in collaboration with the CIRC technique, were higher than those before learning at the 0.05 level of significance.
4. The average scores of learning satisfaction of the students taught by thinking diagrams in conjucntion with the CIRC technique were at the high level.
5. One-way MANCOVA comparing the students’ abilities on analytical thinking with learning achievements for Prathom Suksa 3 in studying the Thai language using thinking diagrams in association with the CIRC technique among all three groups of abilities (low, moderate and high) was significantly different at the 0.05 level.
กำลังออนไลน์: 51
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,361
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,350
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033