...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2556
หน้า: 15-26
ประเภท: บทความวิจัย
View: 197
Download: 218
Download PDF
การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
A Comparison of Analytical Thinking Abilities, Problem-Solving Abilities and Science Learning Achievements by Using the 4MAT Model in Conjunction with the Four Noble Truths for Mathayom Suksa 2 Students
ผู้แต่ง
สุจิตรา วภักอิ์เพชร, อัมรา เขียวรักษา, มารศรี กลางประพันธ์
Author
Sujittra Vapakpet, Umara Kiewrugsa, Marasri Klangprapan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 และเกณฑ์ของดัชนีประสิทธิผล (E.I.) 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 5) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ต่างกันหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบะฮีวิทยาคม จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ที่เรียนอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 จำนวน 13 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกายของมนุษย์และสัตว์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) (t–test One Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One–way MANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ระบบในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 87.58/83.00 และดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ระบบในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 มีค่าเท่ากับร้อยละ 66.68 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ต่างกัน หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 มีผลทำให้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ต่างกัน หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์สูง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ปานกลางและต่ำ ด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ต่างกัน หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์สูง มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ปานกลาง และต่ำ ส่วนนักเรียนที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ปานกลางและต่ำ มีความสามารถทางการคิดแก้ปัญหาไม่แตกต่างกัน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ต่างกัน หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ร่วมกับการคิดแบบอริยสัจ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์สูง มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีคุณลักษณะบุคลิกภาพนักวิทยาศาสตร์ ปานกลางและต่ำ

Abstract

The purposes of this study were to: 1) develop the instructional model based on the 4MAT system model in cooperation with the Four Noble Truths for Mathayom Suksa 2 students in the learning substance of sciences in the unit of “Human and Animal Body System “to obtain efficiency set and the Effectiveness Index (E.I.), 2) compare the students’ analytical thinking abilities before and after being taught by the 4MAT model on collaboration with the Four Noble Truths of Mathayom Suksa 2 students, 3) compare the students’ problem-solving abilities before and after being taught by the 4 MAT model along with the Four Noble Truths of Mathayom Suksa 2 students, 4) compare science learning achievement before and after being taught using the 4MAT model together with the Four Noble Truths of Mathayom Suksa 2 students, 5) compare the students’ analytical thinking abilities, problem-solving abilities and science learning achievements of Mathayom Suksa 2 students with different scientist characteristics using the 4MAT model in conjunction with the Four Noble Truths. The sampling group consisted of 30 Mathayom Suksa 2 students of Ba Hi Witthayakhom School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 in the first semester of academic year 2012, selected by cluster random sampling. The instruments used in this research were: 1) 13 lesson plans based on the 4MAT model in association with the Four Noble Truths of Mathayom Suksa 2 students, 2) the students’ science analytical thinking abilities test of “Human and Animals Body System”. 3) the students’ science problem-solving abilities test, 4) the science learning achievement test of “Human and Animal Body System”. Statistics used were mean, standard deviation, t-test (Dependent Samples), One-way MANOVA and One-way ANOVA.

The findings of this study were as follows :

1. The lesson plan based on the 4MAT model in cooperation with the Four Noble Truths of Mathayom Suksa 2 students obtained an efficiency level of 87.58/83.00 and the percentage of the Effectiveness Index after using the 4MAT model in association with the Four Noble Truths at 66.68 percent.

2. The analytical thinking abilities of Mathayom Suksa 2 students after being taught by the 4MAT model in collaboration with the Four Noble Truths were higher than those before at the 0.5 level of significance.

3. The problem-solving abilities of Mathayom Suksa 2 students after being taught by the 4MAT model together with the Four Noble Truths were higher than those before at the 0.5 level of significance.

4. The learning achievements of Mathayom Suksa 2 students after being taught by the 4MAT model along with the Four Noble Truths were higher than those before at the 0.5 level of significance.

5. The different scientist characteristics of the students after being taught by the 4MAT model in cooperation with the Four Noble Truths affecting analytical thinking abi;ities, problem-solving abilities and science learning achievements were significantly different at the 0.5 level. When pair wise was considered, it was found that:

5.1 The analytical thinking abilities of Mathayom Suksa 2 students with different scientist characteristics after being taught by the 4MAT model along with the Four Noble Truths were significantly different at 0.5 level. The students with high scientist characteristics gained more analytical thinking abilities than those students with moderate and low scientist characteristics.

5.2 The problem-solving abilities of Mathayom Suksa 2 students with different scientist characteristics after being taught by the 4MAT model in association with the Four Noble Truths were different at the 0.5 level of significance. The students with high scientist characteristics gained more analytical thinking abilities than those students with moderate and low scientist characteristics. The students with moderate and low scientist characteristics showed no differences in problem-solving thinking abilities.

5.3 The science learning achievements average scores of Mathayom Suksa 2 students after being taught by the 4MAT model in conjunction with the Four Noble Truths were significantly different at the 0.5 level. The students with high scientist characteristics gained higher average scores on learning achievements than those students with moderate and low scientist characteristics.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 53

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,308

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,297

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033