บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้คู่มือการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับอริยสัจสี่ เรื่อง ปุ๋ยชีวภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลต่อความรับผิดชอบ ทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับอริยสัจสี่ 2) แบบทดสอบวัดความรับผิดชอบ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (Coefficient of Variation : C.V.) ค่าสถิติทดสอบที (t-test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุร่วมทางเดียว (One-way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. คู่มือการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับอริยสัจสี่ เรื่อง ปุ๋ยชีวภาพ มีค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) เท่ากับ 0.69 แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 69 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (Coefficient of Variation : C.V.) เท่ากับ 14.78 แสดงว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีคุณภาพใช้ได้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยคู่มือการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับอริยสัจสี่ มีความรับผิดชอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนด้วยคู่มือการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับอริยสัจสี่ มีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยคู่มือการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับอริยสัจสี่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน เมื่อได้เรียนด้วยคู่มือการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับอริยสัจสี่ มีความรับผิดชอบ ทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
เมื่อทดสอบด้วยความแตกต่างรายคู่ ด้วยสถิติ Scheffé ปรากฏผลดังนี้
5.1 นักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ สูง มีความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ ปานกลาง และต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5.2 นักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ สูง มีทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ ปานกลาง และต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5.3 นักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ สูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ ปานกลาง และต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purpose of this study was to develop and investigate the results of learning management using a manual of project learning together with the Four Noble Truths on ‘Biological Fertilizer’ for Prathom Suksa 6 students which affected responsibility, problem solution skill and learning achievement in the learning substance group of work, career and technology. A sample group of Prathom Suksa 6 students in the second semester of academic year 2013 was selected by purposive sampling. The instruments used comprised: 1) a manual of project learning together with the Four Noble Truths, 2) a test of responsibility, 3) a test of problem solution skill, and 4) a test of learning achievement. The statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, effectiveness index (E.I.), coefficient of variation (C.V.), t-test for dependent samples, one-way MANCOVA and one-way ANCOVA.
The findings revealed as follows:
1. The manual of project learning together with the Four Noble Truths on ‘Biological Fertilizer’ had the effectiveness index of 0.69 showing that the students had an increase of 69% in learning advancement and had the coefficient of variation (C.V.) of 14.78 showing that the learning activity arrangement plan had a good quality.
2. The students who learned using the manual of project learning together with the Four Noble Truths had significantly higher responsibility after learning than that before learning at the .05 level.
3. The students who learned using the manual of project learning together with the Four Noble Truths had significantly higher problem solution skill after learning than that before learning at the .05 level.
4. The students who learned using the manual of project learning together with the Four Noble Truths had significantly higher learning achievement after learning than that before learning at the .05 level.
5. The students whose emotional quotients (E.Q.) were different after their learning using the manual of project learning together with the Four Noble Truths had a significant difference in responsibility, problem solution skill and learning achievement at the .05 level.
As for the pairwise comparison of difference among the groups of students using Scheffe’s method, it showed as follows:
5.1 The students whose E.Q. level was high had significantly higher responsibility than those whose E.Q. level was moderate or low at the .05 level.
5.2 The students whose E.Q. level was high had significantly higher problem solution skill than those whose E.Q. level was moderate or low at the .05 level.
5.3 The students whose E.Q. level was high had significantly higher learning achievement than those whose E.Q. level was moderate or low at the .05 level.
คำสำคัญ
ความรับผิดชอบ, ทักษะการแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, คู่มือการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบโครงงาน, การเรียนรู้แบบอริยสัจสี่Keyword
Responsibility, Problem Solution Skill, Learning Achievement/ Manual of Learning, Project Learning, Four-Noble-Truths-Based Learningกำลังออนไลน์: 32
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,602
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,591
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033