...
...
เผยแพร่: 1 ส.ค. 2557
หน้า: 147-159
ประเภท: บทความวิจัย
View: 192
Download: 215
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงาน เพื่อสร้างเสริมทักษะการคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of the English Instructional Activities Based on Project–Based Learning to Enhance Prathom Suksa 5 Students’ Thinking Skills, Learning Achievement and Learning Attitude
ผู้แต่ง
ทัศยา จุลนีย์, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
Author
Thassaya Jullanee, Vijittra Vonganusith

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานที่สร้างขึ้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาทักษะการคิดของนักเรียนที่ได้เรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงาน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนตามกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบโครงงาน แบบประเมินทักษะการคิด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน การวิจัยใช้รูปแบบการทดลองแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ชนิด Dependent Samples (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.67/83.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ทักษะการคิดของนักเรียนที่ได้เรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานที่สร้างขึ้น ตามผลการประเมินโดยครูอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.55) และตามผลการประเมินตนเองของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.61) ซึ่งสรุปได้ว่านักเรียนมีทักษะการคิดอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานที่สร้างขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. เจตคติของนักเรียนต่อการเรียนตามกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.66)

Abstract

This study was conducted with these purposes: 1) to develop the English instructional activities based on Project–Based Learning to contain the efficiency criteria of 75/75, 2) to investigate the thinking skills of the students who had learnt through the English instructional activities developed by using Project–Based Learning, 3) to compared the students’ learning achievements gained before and after they had learnt through the developed English instructional activities, and 4) to examine Prathom Suksa 5 students’ attitude toward learning through the English instructional activities developed by adopting  Project–Based Learning.

The subjects were 36 Prathom Suksa 5/3 students who enrolled in the second semester of 2013 academic year at Anuban Phannanikhom School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. They were obtained by cluster random sampling technique. The instruments used comprised the English learning lesson plans based on Project–Based Learning, the form to assess the students’ thinking skills, English learning achievement test and the questionnaire to explore the students’ attitude. One Group Pretest-Posttest Design was employed for the study. The statistics used were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).

The study unveiled the following results:

1. The English instructional activities based on Project–Based Learning had their efficiency of 84.67/83.19 which was higher than the set criteria of 75/75.

2. The students who had learnt through the constructed English instructional activities developed by using Project–Based Learning had their thinking skills assessed by their teacher at the highest level (\bar{x} = 4.55) and as assessed by the students at the highest level (\bar{x} = 4.61). Conclusively, the students’ thinking skills were at the highest level.

3. After the students had learnt through the constructed English instructional activities developed by using Project–Based Learning, their learning achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

4. The students’ attitude toward learning through the English instructional activities developed by adopting Project–Based Learning was at the highest level (\bar{x} = 4.66).

คำสำคัญ

กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, ทักษะการคิด

Keyword

English instructional activity, Project-Based Learning Management, Thinking skills
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 36

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,469

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,458

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033