บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย ตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย และ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนในการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซ่อมกอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.50/82.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย โดยรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24
4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย มีความคงทนในการเรียนรู้โดยที่คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและหลังสิ้นสุดการเรียนเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน
Abstract
The purposes of this study were: 1) to develop Multimedia Computer-Assisted Instruction and find its efficiency based on the set criteria of 75/75, 2) to compare the students’ learning achievement obtained before and after they had learnt through the developed Multimedia Computer-Assisted Instruction, 3) to investigate the students’ satisfaction of learning through the developed Multimedia Computer-Assisted Instruction, and 4) to assess the students’ knowledge retention resulted from learning through the developed Multimedia Computer-Assisted Instruction entitled “Application Unit” for Prathom Suksa 5.
The subjects were 20 Prathom Suksa 5 students who were studying in the second semester of 2013 academic year at Ban somkok School under office of Buengkan Primary Education Service Area. They were purposively selected.
The instrument were composed of the Multimedia Computer-Assisted Instruction entitled “Application Unit” for Prathom Suksa 5, an achievement test used for pretesting and post-testing, a questionnaire to survey the students’ satisfaction of Multimedia Computer-assisted Instruction, and an achievement test used for measuring the students’ knowledge retention.
The statistics used for data analysis included mean, percentage, standard deviation and t-test (Dependent Samples).
The findings of the research were:
1. The Multimedia Computer-Assisted Instruction developed by the researcher had its efficiency of 80.50/82.83 which was higher than the set criteria of 75/75.
2. After the students had learnt through the Multimedia Computer-Assisted Instruction, their learning achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.
3. The students’ satisfaction of learnt though the Multimedia Computer-Assisted Instruction as a whole was at the high level.
4. The students who had learnt through the multimedia Computer–Assisted Instruction could retain their knowledge after they had learnt for two weeks. Their scores did not differ from those they made from the posttest.
คำสำคัญ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย, กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์Keyword
Multimedia Computer–Assisted Instruction, Mathematics Learning Substance Groupกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,604
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,593
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033