...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2557
หน้า: 43-53
ประเภท: บทความวิจัย
View: 164
Download: 219
Download PDF
ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในการป้องกันอันตราย จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อันเนื่องมาจากปัญหาผลกระทบของโครงการให้เช่า ทำสวนยางพาราในพื้นที่ของรัฐ : กรณีศึกษาบ้านหาดเชียงตอม เมืองบลิคัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
A Strategy for enhancing knowledge and awareness in prevention of danger from chemical pesticides as the result of the Impact Problems of the rent Project on Para Rubber Plantation in the Areas of the Government : A case in Ban Had Chiang Tom, Bolikhan D
ผู้แต่ง
วัน พรหมราช, สำราญ กำจัดภัย
Author
Vahn Prommalath, Sumran Gumjudpai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาผลกระทบของโครงการให้เช่าทำสวนยางพาราในพื้นที่ของรัฐ ที่มีต่อชุมชนบ้านหาดเชียงตอม เมืองบลิคัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ (2) ด้านสังคม (3) ด้านเศรษฐกิจ และ (4) ด้านสุขภาพ 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาผลกระทบของโครงการให้เช่าทำสวนยางพาราในพื้นที่ของรัฐ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาผลกระทบของโครงการให้เช่าทำสวนยางพาราในพื้นที่ของรัฐ กลุ่มตัวอย่างในขั้นศึกษาปัญหาผลกระทบ ได้แก่ ประชาชนในบ้านหาดเชียงตอม จำนวน 120 ครอบครัว ส่วนกลุ่มตัวอย่างในขั้นทดลองใช้ยุทธศาสตร์ มีจำนวน 28 ครอบครัว เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาผลกระทบของโครงการให้เช่าทำสวนยางพาราในพื้นที่ของรัฐ 2) แบบสอบถามปัญหาผลกระทบของโครงการให้เช่าทำสวนยางพาราในพื้นที่ของรัฐ 3) โครงการอบรมเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4) คู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 5) แบบทดสอบความรู้ในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 6) แบบวัดความตระหนักในการป้องกันอันตราย จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่อิสระกัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัญหาผลกระทบต่อชุมชนของโครงการให้เช่าทำสวนยางพาราในพื้นที่ของรัฐ บ้านหาดเชียงตอม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มี 2 ด้านที่มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม อีกสองด้าน ได้แก่ ด้านสังคมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และด้านเศรษฐกิจมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อเรียงอันดับของปัญหาจากมากไปน้อย พบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงสุดคือด้านสุขภาพ รองลงมาอีก 2 อันดับ คือ ด้านสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และด้านสังคม ส่วนด้านเศรษฐกิจมีปัญหาต่ำสุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามรายการปัญหา พบว่า จากรายการปัญหาทั้งหมด 23 รายการ ปรากฏว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด 6 รายการ ดังนี้ 1) เกิดเจ็บไข้ได้ป่วยเนื่องจากรับประทานอาหาร อาทิ เห็ด หรือพืชพรรณธัญญาหารที่เก็บมาจากพื้นที่ที่ทำสวนยางพารา 2) เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีในการทำสวนยางพาราแพร่กระจายมาตามอากาศ ดิน น้ำ หรืออาหารการกินต่างๆ 3) ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีในการทำสวนยางพารา แพร่กระจายมาตามอากาศ ดิน น้ำ หรืออาหารการกินต่างๆ 4) ไม่สามารถขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูกได้ เนื่องจากพื้นที่เคยทำถูกเปลี่ยนเป็นสวนยางพารา 5) เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับผู้ทำสวนยางพารา และ 6) มีความยุ่งยากในการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะวัว ควาย เนื่องจากพื้นที่ที่เคยเลี้ยงถูกเปลี่ยนเป็นสวนยางพารา

2. ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาผลกระทบของโครงการให้เช่าทำสวนยางพาราในพื้นที่ของรัฐ ที่มีต่อชุมชนบ้านหาดเชียงตอม ได้แก่ การจัดอบรมเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการจัดทำคู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

3. หลังการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงกว่าก่อนใช้ยุทธศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate the problem of impacts of the rent project for para rubber plantation in the areas of the government on the Ban Had Chiang Tom community, Bolikhan district, Bolikhamxay province, Lao People’s Democratic Republic in the 4 aspects: (1) environment and nature aspect, (2) social aspect, (3) economic aspect, and (4) health aspect; 2) to create a strategy to solve the problem of impacts of the rent project for para rubber plantation in the areas of the government, (3) to examine the results of implementing the strategy to solve the problem of impacts of the rent project for para rubber plantation in the areas of the government. A sample used in the stage of examining the problem of impacts was people of 120 families who lived in the Had Chiang Tom village, whereas a sample used in the stage of implementing the strategy comprised those from 28 families. The tools used to collect data were 1) an in-depth interview guide concerning the problem of impacts of the rent project for para rubber plantation in the areas of the government, 2) a questionnaire asking the problem of impacts of the rent project for para rubber plantation in the areas of the government, 3) a project for enhancing knowledge and awareness of preventing danger from chemical pesticides, 4) a manual for preventing danger from chemical pesticides, 5) a test of knowledge about preventing danger from chemical pesticides, 6) a test of awareness in preventing danger from chemical particles, and 7) a questionnaire asking satisfaction of participation in the project of training activity.  Statistics used to analyze data were mean, standard deviation and t-test of dependent samples.

The findings were as follows:

1. The problem of impact of the rent project for para rubber plantation in the areas of the government on the Ban Had Chiang Tom community as a whole was at the moderate level. Considering it by aspect, it was found that two aspects of them were at the high level: health and the environment and the other two aspects were at the moderate and low levels respectively: social and economic. As arranged from higher to lower ranks of the problems, the aspect that had the highest problem was of health and the two others that ranked next were of the environment and nature, and social aspects; while the economic aspect had the lowest problem. As the list of problems was considered, 6 out of 23 problems were found at the highest levels: 1) getting sick because of eating mushrooms and crops collected from the para rubber plantation areas; 2) being ill very often because of chemicals which were spread out in the air, the soil and water, or food, 3) being exposed to toxic substances into the body because of using chemicals in para rubber plantation which spread out over the area, 4) being not able to expand the cultivation because the area was changed into para rubber plantation, 5) incurred conflicts between villagers and rubber plantation owners, and 6) having difficulty of raising animals, especially, cattle because the raising areas were changed into rubber plantation.

2. The strategy to solve the problem of impacts of the rent project in the areas of the government on the Ban Had Chiang Tom community was to give training for enhancing knowledge and awareness in prevention of danger from chemical pesticides and to produce a manual for preventing chemical pesticides.

 3. After the implementation of the strategy, the people had significantly higher knowledge and awareness of preventing danger from chemical pesticides than those before the implementation at the .01 level and passed the determined criterion by having the highest level satisfaction of participation in various activities.

คำสำคัญ

ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหา, ปัญหาผลกระทบ, การทำสวนยางพารา

Keyword

Strategy for Solving, Impact Problems, Para Rubber Plantation
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 44

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,553

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,542

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033