...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2557
หน้า: 203-212
ประเภท: บทความวิจัย
View: 213
Download: 75
Download PDF
การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง พลังงานความร้อน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4MAT Instructional Management Entitled “Thermal Energy in Science Substance Group” to Enhance Scientific Creativeness of Mathayom Suksa 1 Students
ผู้แต่ง
รุ่งทิพย์ จันทร์อ่อน, อนันต์ ปานศุภวัชร, ถาดทอง ปานศุภวัชร
Author
Rungtip Junon, Anun Pansuppawat, Thardthong Pansuppawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนพังโคนวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน ไดมาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ของนักเรียน มีประสิทธิภาพ 77.73/77.59 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75

2. ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT สูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT มีค่าเฉลี่ย 4.18 อยู่ในระดับมาก

Abstract

This study was conducted with the following purposes: 1) to find the efficiency of the 4MAT instructional management, 2) to compare the students, scientific creativeness possessed before and after they had learnt through 4MAT instructional management, 3) to compare the students’ learning achievements gained before and after they had learnt through 4MAT instructional management, and 4) to investigate the students’ satisfaction of 4MAT instructional management. The subjects were 40 Mathayom Suksa 1/2 students who enrolled in the first semester of 2014 academic year of Phungkhonwittayakhom School. They were obtained by cluster random sampling. The instruments used included 4MAT lesson plans, the test to measure the students’ scientific creativeness, the test to examine the students’ learning achievement, and a questionnaire to survey the students’ satisfaction. The statistics employed comprised percentage, mean and standard deviation. T-test (Dependent Samples) was adopted to check the difference between two groups of arithmetic means.

The results gained were as the following:

1. The 4MAT instructional management had its efficiency of 77.73/77.59 which was higher than the established criteria of 75/75.

2. After the students had learnt through the 4MAT instructional management, their scientific creativeness was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

3. After the students had learnt through the 4MAT instructional management, their learning achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

4. The student, s satisfaction of learning through 4MAT instructional management, on the average, was at the high level of (4.18).

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT, ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์, ความพึงพอใจ

Keyword

4MAT instructional management, scientific creativeness, satisfaction
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 1

วันนี้: 358

เมื่อวานนี้: 1,464

จำนวนครั้งการเข้าชม: 804,072

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033