...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2557
หน้า: 189-202
ประเภท: บทความวิจัย
View: 672
Download: 203
Download PDF
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Development of Supplementary Spelling Skills Practice on Thai Language Reading and Writing Based on Cooperative Learning Approach for Prathom Suksa 2
ผู้แต่ง
ประไทย ศุภวิทยาเจริญกุล, ประยูร บุญใช้, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Author
Prathai Suppawitayajarernkul, Prayoon Boonchai, Bhumbhong Jomhongbhibhat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนทีมีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) ศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุงศรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 17 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัยใช้แผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 81.67/82.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก

4. พฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการร่วมมือ อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were to : 1) develop the supplementary spelling skills practice package on Thai Language Reading and Writing based on cooperative learning for Prathom Suksa 2 to meet the standard efficiency of 80/80, 2) compare the students’ learning achievement before and after learning through the developed package, 3) examine the students’ satisfaction toward the developed package, and 4) investigate the cooperative learning behaviors of Prathom Suksa 2 students after learning through the developed package.

The samples were 17 Prathom Suksa 2 students of Baan Kungsri school under the Primary Educational Service Area 1 in the second semester of the academic year 2013. They were obtained through a purposive sampling technique. The one group pre-test-posttest design was employed. The instructions of this study included : 1) supplementary spelling skills practice thai language reading and writing based on cooperative learning 2) a learning achievement test 3) a questionnaire to survey the student’s satis fection and 4) cooperative behavior observation form. The statistics used in analyzing data were percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The findings were as follows:

1. The supplementary spelling skills practice package on Thai Language Reading and Writing based on cooperative approach for Prathom Suksa 2 had the efficiency of 81.67/82.94, which was higher than the standard criteria of 80/80.

2. After the intervention, the mean scores of the students’ learning achievement were higher than those of before at a .01 level of significance.

3. After the intervention, the students’ satisfaction towards the supplementary skills practice package on Thai Language Reading and Writing based on cooperative learning for Prathom Suksa 2 was high level.

4. After the intervention, the students’ cooperative behaviors towards the developed package was at the high level.

คำสำคัญ

แบบฝึกเสริมทักษะ, การอ่านและการเขียนสะกดคำ, การเรียนรู้แบบร่วมมือ

Keyword

Supplementary spelling skills practice, Thai Language Reading and Writing, Cooperative learning
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 13

วันนี้: 500

เมื่อวานนี้: 1,464

จำนวนครั้งการเข้าชม: 804,214

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033