บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวโน้มต่อการพัฒนาการจัดการศึกษา และองค์ประกอบการบริหารการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเศรษฐกิจพิเศษ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล มีจำนวน 60 คน คือ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน ครู และนักเรียน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง การรวบรวมข้อมูลกระทำโดยพหุวิธีการ ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตและจดบันทึก การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการแปลความและตีความหมายข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) มีการเตรียมความพร้อมทางด้านทรัพยากรมนุษย์ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ การบริหารจัดการไว้รองรับการพัฒนาในทุกด้านของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และ 2) มีองค์ประกอบฯ 8 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหาร 2) หลักสูตร 3) ครู 4) นักเรียน 5) การเรียนการสอน 6) การวิจัยและพัฒนา 7) เครือข่ายการเรียนรู้ และ 8) สื่อและเทคโนโลยี
Abstract
The purposes of this study were to: study of current situation, problems and trends in educational development. And elements of educational administration in accordance with Sufficiency Economy Philosophy in Special Economic Zones. Gorup of contributors, there are 5 groups of 60 people are administrators of education, school administrators, community leaders, student's parent, teachers, and students are provided by a purposive sampling. Data collection is done by multiple methods, including document analysis. Observation and recording of interviews and group discussions. The results of the study revealed that 1) prepare human resources, budget, materials and equipment and management to support for all aspects of the Special Economic Zone, and 2) was composed of 8 components: 1) Administration 2) Curriculum 3) Teacher 4) Student 5) Teaching 6) Research and Development 7) Learning Network and 8) Media and Technology
คำสำคัญ
การบริหารการศึกษา, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, เขตเศรษฐกิจพิเศษKeyword
Educational Administration, Principles of Sufficiency Economy Philosophy, Special economic zoneกำลังออนไลน์: 16
วันนี้: 599
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,334
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033