...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2557
หน้า: 117-127
ประเภท: บทความวิจัย
View: 214
Download: 85
Download PDF
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Development of Learning Activity Packages on Reading and Writing Skills Based on Brain based Learning Approach for Prathom Suksa 2
ผู้แต่ง
ประเทียนทอง ศุภวุฒิ, ประยูร บุญใช้, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Prateanthong Supawut, Prayoon Boonchai, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านดอนหมูโพธิ์ศรี “ชุมชนพัฒนา” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test ชนิด Dependent Samples)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 83.50/88.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.26

Abstract

This study aimed to :1) develop the learning activity packages in reading and writing for Thai language subject based on Brain-based learning approach for Prathom Suksa 2 students to reach the efficiency to achieve 80/80 criteria ,2) compare the students’ reading and writing abilities before and after being taught by the developed activity packages in reading and writing for Thai language subject based on Brain-based learning approach for Prathom Suksa 2 students, and 3) explore the students’ satisfaction after learning through the developed learning activity packages in reading and writing for Thai language subject. The Samples consisted of 20 students in Prathom Suksa 2 at Ban Don Moo Pho Sri School, Chumchon Pattana, under the office of Primary Educational Service Area 1 in the second semester of academic year 2013. They were selected by Purposive Random Sampling technigue. The instuments  used in this study were :1) the developed learning activity packages on reading and writing for thai language subject, 2) a test of reading and writing abilities, and 3) a form of satisfaction evaluation toward the developed learning activity packages. The One Group Pretest-Posttest design was employed. The statistics used to analyse data were mean, standard deviation, percent, and t-test (Dependent Samples).

The outcomes of this study were as follows:

1. The efficiency of the developed learning activity’s packages in reading and writing for Thai language subject based on Brain-based learning approach for Prathom Suksa 2 reached the efficiency (E1/E2) at 83.50/88.00 which was higher than the established requirement of 80/80.

2. The average scores of the students’ reading and writing abilities in posttest was significantly higher than pretest scores at .01 level.

3. The students’ satisfaction survey with the developed learning activity package was at the high level.

คำสำคัญ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การอ่านและการเขียน, แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

Keyword

Learning Activity Packages, Reading and Writing skiiis, Brain based Learning Approach
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 3

วันนี้: 346

เมื่อวานนี้: 1,464

จำนวนครั้งการเข้าชม: 804,060

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033