บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือและสื่อของจริง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือและสื่อของจริง และ 3) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือและสื่อของจริง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือและสื่อของจริง จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ 3) แบบวัดเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบโดยใช้ค่าที (t–test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือและสื่อของจริง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 80.62/85.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือและสื่อของจริง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักศึกษามีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือและสื่อของจริง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีเจตคติมากที่สุด เมื่อเห็นชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษ นักศึกษาอยากลองพูดคุยด้วย ( = 4.53)
Abstract
The purposes of this research were to 1) development of learning activities develop reading comprehension ability by using cooperative learning approach and authentic materials for the first year vocational students was set at 75/75 2) compare students’ English reading ability before and after learning by cooperative learning approach and authentic Materials 3) study students’ attitude toward learning by cooperative learning approach and authentic Materials.
The sample consisted of 30 students of the first year Si Songkram Industrial Technology College Nakhonphanom University who was selected through a cluster random sampling.
The instruments used in the research included 1) seven lesson plans on cooperative learning approach and authentic materials 2) an achievement test 3) a questionnaire on attitude toward learning by cooperative learning approach and authentic materials.
The data were analyzed by percentage, mean (), standard deviation (S.D.) and a dependent t-test.
The results of research were:
1. The efficiency of learning activities for develop of reading comprehension ability by using on cooperative learning approach and authentic materials was 80.62/85.67 indicating levels it’s higher than the setting criteria.
2. The result of students’ reading comprehension ability after learning by cooperative learning approach and authentic materials was significantly higher than that before at the .01 level.
3. The students’ attitude toward cooperative learning approach and authentic materials were at the highest level ( = 4.40) and the results when it was analyzed by item chronologically from item 19 is least; students pleasantly talked to the native English speakers ( = 4.53).
คำสำคัญ
ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, สื่อของจริงKeyword
Reading Comprehension Ability, Cooperative Learning, Authentic Materialsกำลังออนไลน์: 27
วันนี้: 144
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,879
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033