...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2557
หน้า: 71-85
ประเภท: บทความวิจัย
View: 212
Download: 217
Download PDF
การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคณิตศาสตร์ ที่มีต่อพฤติกรรมความร่วมมือ ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
A Development of Learning Activity Manual Based on STAD in Conjunction with the Mathematical Project Learning Application Affecting Cooperative Behaviors, Analytical Thinking Abilities and Mathematical Achievements for Prathom Suksa 4 Students
ผู้แต่ง
นวลฉวี ไพเรืองโสม, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Nualchawee Phairueangsom, Ploenpit Thummarat, Pinyo Thonglao

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือ ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือ ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง ปานกลาง และต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านภูแผงม้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดพฤติกรรมความร่วมมือ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว (One–Way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One–Way ANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.43/77.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) พฤติกรรมความร่วมมือ ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) พฤติกรรมความร่วมมือ ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this Experimental Research study were to: 1) develop the learning activity manual based on STAD in conjunction with the mathematical project learning for Prathom Suksa 4 obtaining the criteria set, 2) compare the students’ cooperative behaviors, analytical thinking abilities and mathematical learning achievements gained before and after learning of Prathom Suksa 4 students, and 3) compare the cooperative behaviors, analytical thinking abilities and mathematical learning achievements gained before and after being taught of Prathom Suksa 4 students with high, moderate and low emotional quotient. The sampling group consisted of 25 Prathom Suksa 4 students using Cluster Random Sampling technique at Ban Phu Phaengma School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area in the first semester of 2013 academic year. The instruments used were: 1) learning activity manual based on STAD in association with the mathematical project learning, 2) a form of 30-item cooperative behaviors measurement, 3) a 20-item test of analytical thinking abilities, and 4) a 20-item test on learning achievements. The statistics employed to analyze the data comprised mean, standard deviation, t–test (Dependent Samples), One-Way MANCOVA and One–Way ANCOVA.

The findings of this research were as follows: 1. The efficiency of the learning activity manual based on STAD in collaboration with the mathematical project learning was 78.43/77.60 which was higher than the criterion set, 2. The cooperative behaviors, analytical thinking abilities and mathematical learning achievements after learning were higher than those before being taught at the .05 level of significance, 3. The researcher found that the cooperative behaviors, analytical thinking abilities and mathematical learning achievements of the students who obtained different emotional quotient were significantly different at the .05 level.

คำสำคัญ

คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี (STAD), การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคณิตศาสตร์, พฤติกรรมความร่วมมือ, ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keyword

Learning activity manual, STAD, Mathematical project learning, Cooperative behaviors, Analytical thinking abilities and Learning Achievements
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 35

วันนี้: 169

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,904

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033