...
...
เผยแพร่: 1 พ.ค. 2561
หน้า: 67-75
ประเภท: บทความวิจัย
View: 221
Download: 217
Download PDF
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Strategy Leadership of Small Primary Schools Administrators Under the Office of Mukdahan educational Service Area
ผู้แต่ง
ทัศนา ประสานตรี, สัมฤทธิ์ ต้นสวรรค์, ศุภกร ศรเพชร
Author
Tassana Prasantree, Samrit Tonsawan, Supakorn Sornphet

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อหาองค์ประกอบที่เหมาะสมและเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำนวน 118 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม มี 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบและตอนที่ 2 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 และ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบย่อย 65 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) การดำเนินกลยุทธ์ มี 3 องค์ประกอบย่อย 52 ตัวบ่งชี้ คือ วางแผนกลยุทธ์ นำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และควบคุมเชิงกลยุทธ์ และ 2) วัฒนธรรมองค์การ มี 3 องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้ คือ ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน และ เมื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ (\bar{x} = 4.13) รองลงมา คือ ด้านการดำเนินกลยุทธ์ (\bar{x} = 4.13) ตามลำดับ

Abstract

The purposes of this study were to: examine the appropriate components of strategic leadership and Compare of level the Strategic Leadership of small primary schools administrators under the Office of Mukdahan Educational Service Area by sex, educational background and work experience placements. The samples consisted of small primary schools administrators under the Office of Mukdahan Educational Service Area, 118 of which have come to define the size of the sample table of Krejcie & Morgan. The instrument used was a questionnaire created. The reliability of 0.99 and 0.97 using statistical data analysis, percentage, average, standard deviation. t-test, ANOVA test and differences in pairs with Scheffe method.

The findings of the study were as follows:

The Strategic Leadership of small primary schools administrators under the Office of Mukdahan Educational Service Area contains two main elements sixth element 65 indicates the main elements include 1) the implementation strategy with three elements Indicators 52 is strategic planning Strategy implementation And strategic and 2) A third elements 13 indicators are the culture, beliefs, values, norms, in comparison strategic leadership of school administrators small study. Primary Educational Service Area Office itself. And found that the overall strategic leadership of school administrators, students, small overall. At a high level (\bar{x} = 4.11) when it was found that the mean maximum Cultural Organization (\bar{x} = 4.13), followed by the implementation strategy (\bar{x} = 4.13), respectively.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

Keyword

Strategic Leadership, Small Primary Schools Administrators
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 10

วันนี้: 658

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,393

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033