บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.73/82.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
2. ความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90
Abstract
The purposes of this research were to : 1) develop and investigate the efficiency the learning activities using Graphic Organizer technique for Thai reading analysis abilities promotion of Mathayom Suksa 4 students, 2) to compare Thai reading analysis abilities of the students before and after learning and 3) to study the students’ satisfaction after learning by Graphic Organizer technique.
The sampling group consisted of 36 Mathayom Suka 4 students, obtained by cluster random, at Kusumalwittayakom School in the second semester of the academic year 2013. The research tools were lesson plans of Thai reading analysis using Graphic Organizer technique, a Thai reading analysis abilities test, and a satisfactional questionnaire. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).
The results of this research were as follows:
1. The efficiency of the learning activities using Graphic Organizer technique for students’ Thai reading analysis abilities promotion was 82.73/82.30 which were higher than the set criteria of 80/80.
2. The Thai reading analysis abilities of the students after learning were higher than before learning at the .01 level of significance.
3. The students’ satisfaction to the learning activities using Graphic Organizer technique, as a whole, was at the high level with the mean of 4.90.
คำสำคัญ
เทคนิคผังกราฟิก, ความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์Keyword
Graphic Organizer, Thai Reading Analysis Abilitiesกำลังออนไลน์: 37
วันนี้: 167
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,902
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033