บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองบัวสิม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.76/75.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this study included the following 1) to develop learning management using Inquiry Approach of 5E’s Learning Cycle and Mind Maps entitled “Natural Resources” to contain the established efficiency of 70/70, 2) to compare Prathom Suksa 3 Students’ critical thinking possessed before and after they had learnt through the learning management using Inquiry Approach of 5E’s Learning Cycle and Mind Maps, 3) to compare Prathom Suksa 3 Students’ learning achievements obtained before and after they had learnt through the learning management using Inquiry Approach of 5E’s Learning Cycle and Mind Maps, and 4) to explore Prathom Suksa 3 Students’ satisfaction of learning through the learning management using Inquiry Approach of 5E’s Learning Cycle and Mind Maps. The subjects were 24 Prathom Suksa 3 Students who were studying in the second semester of 2016 academic year at Ban Nongbuasim School, Kham Ta Kla District, Sakon Nakhon Provinc. They were gained by cluster random sampling. The instruments used in the study consisted of lesson plans, the test to assess the students’ critical thinking, an achievement test, and a questionnaire to explore the student’ satisfaction. The statistics used for data analysis included mean, standard deviation, and t-test (dependent samples).
The study revealed the following results:
1. The developed learning management using Inquiry Approach of 5E’s Learning Cycle and Mind Maps entitled “Natural Resources” contained the efficiency of 77.76/75.21 which was higher than the established efficiency of 70/70.
2. After Prathom Suksa 3 students had learnt through the learning management using Inquiry Approach of 5E’s Learning Cycle and Mind Maps, their critical thinking was significantly higher than that of before at .01 statistical level.
3. After Prathom Suksa 3 students had learnt through the learning management using Inquiry Approach of 5E’s Learning Cycle and Mind Maps, their learning achievement was significantly higher than that of before at .01 statistical level.
4. On the average, the students had their satisfaction of learning through the learning management using Inquiry Approach of 5E’s Learning Cycle and Mind Maps at 4.58 which equaled of the highest level.
คำสำคัญ
การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น, แผนผังความคิด, การคิดวิเคราะห์Keyword
Inquiry Learning Approach, Mind Map, critical thinkingกำลังออนไลน์: 17
วันนี้: 603
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,338
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033