...
...
เผยแพร่: 1 พ.ค. 2561
หน้า: 15-26
ประเภท: บทความวิจัย
View: 374
Download: 178
Download PDF
ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
The Effects of Using Experiential Learning Management on Mathematical Problem Solving Skills and Connection Skills of Mathayomsuksa 3 Students
ผู้แต่ง
จตุพร ผ่องลุนหิต, คงรัฐ นวลแปง, เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
Author
Jatupon Ponlunhit, Kongrat Nualpang, Vetcharit Angganapattarakajorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were: to compare mathematical problem solving skills and mathematical connection skills of Mathayomsuksa 3 students after learning with the experiential learning management as compare with the 70 percent criterion. The sample were selected by cluster random sampling technique there were 27 Mathayomsuksa 3 students in second semester of 2016 school year. The research instruments used in this research were: 1) six lesson plans using experiential learning management. 2) Mathematical problem solving skills and mathematical connection skills test (with reliability of 0.84). The statistics used for analyzing the collected data were mean, percentage, standard deviation and t-test.

Research results found that: The mathematical problem solving skills and connection skills after using experiential learning was higher than the 70 percent criterion at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์, ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Keyword

Experiential learning management, Mathematical problem solving skills, Mathematical connetion skills
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 61

เมื่อวานนี้: 533

จำนวนครั้งการเข้าชม: 793,356

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033