บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีไทยในชั้นเรียนด้วยวิธีวิปัสสนากรรมฐานของโรงเรียนราชวินิต มัธยม โดยใช้สถิติในการวิจัยหาค่าสถิติร้อยละ ด้วยแบบทดสอบปลายภาคเรียน จำนวน 10 ข้อ แบ่งออกเป็น ทักษะทางด้านดนตรี 5 ข้อ ทักษะทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน 5 ข้อ โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นตารางประกอบคำบรรยาย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ ความคิดเห็นเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวทางการเรียนการสอนดนตรีไทยควบคู่กับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีผลที่ดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวทางการเรียนการสอนในหลักสูตร ในด้านความคิดเห็นและทัศนคติของครูในกลุ่มสาระต่างๆ และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ พบว่า จากที่กลุ่มสาระศิลปะวิชาดนตรีไทยนำวิธีการดังกล่าวมาใช้กับการเรียนการสอนนั้นมีความเหมาะสม และสมเหตุสมผลด้วยทั้งบริบทรอบข้างที่เกี่ยวข้องกับวิชาดนตรีไทยจากทางตรงและทางอ้อม หรือในการนำมาปรับใช้กับวิชาของตนเองก็สามารถนำมาใช้ได้แต่ต้องมีการใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมนั้นๆ โดยทางรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการมีความเห็นถึงการนำมาใช้กับวิชาต่างๆ ถึงการทดลองหาผลสรุปสู่การพัฒนาหรือปรับใช้ให้สถานศึกษาดีขึ้นต่อไป ทั้งนี้บุคลากรของสถานศึกษาต้องมีความรู้แนวทางที่เหมือนกัน และเข้าใจถึงวิธีดังกล่าวถึงจะส่งผลไปสู่การนำไปทดลองกับตนเองต่อไป
Abstract
This research aimed to study the teaching of Thai musical in classes by Vipassana meditation, case study of Rajavinit Mathayom School. The statistics used in research was percentage. The instrument was the final test, 10 questions divided into five musical skills, the skills of meditation five questions. The research, presented in the form of a table and explanations. Presented the results of data analysis and opinion as a form of composition writing.
Results revealed that:
The results showed that the approach of teaching Thai musical in classes with Vipassana meditation, case study of Rajavinit Mathayom School was better than the samples used in the teaching curriculum. The opinions and attitudes of teachers in various groups and the Deputy Director of Academic Affairs found that Thai musical subject in Art group used this technique of teaching was appropriate and reasonable surrounding context of Thai musical directly and indirectly. Or in the course of their deployment, it can be used but must be used to suit the situation and environment of each subject. The Deputy Director of Academic Affairs has adopted an opinion on various subjects. In a summary trial the development or deployment of a better place to study. By the staff of the institutions must be knowledgeable in the same way. And to understand how such results will lead to further experiments by own. This is another objective of the research is to develop the academic administration of the school forever.
คำสำคัญ
การบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, ดนตรีไทย, วิปัสสนากรรมฐาน, โรงเรียนราชวินิต มัธยมKeyword
Management of learner development activities, Thai classical music, Vipassana meditation, Rajavinit Mathayom Schoolกำลังออนไลน์: 34
วันนี้: 158
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,893
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033