...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2559
หน้า: 105-113
ประเภท: บทความวิจัย
View: 214
Download: 71
Download PDF
สภาพและความต้องการการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
State and Need of Technology Usage for Management of Dipangkornwittayapat (Watnoinai) School
ผู้แต่ง
วัชราภรณ์ วังมนตรี, พีระพงษ์ สิทธิอมร, สมศักดิ์ ขาวลาภ
Author
Watcharaporn Wangmontree, Pherapong Sitthi-amorn, Somsak Khaowlarp

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพและความต้องการการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและความต้องการการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาและอายุราชการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรที่สังกัดในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและความต้องการการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.869 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบที (t-test) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีเชฟเฟ (Scheffe’ Method)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารและจัดการของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.78 เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับจากน้อยไปมาก พบว่าด้านความพร้อมของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (X1) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.01 ด้านการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (X2)  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.39 และด้านการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ด้านบริหารจัดการศึกษา (X3) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47          

2. ความต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารและจัดการโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 3  ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมของระบบเทคโนโลยี (X1) ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (X2) และด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ด้านบริหารจัดการศึกษา (X3) ผลการวิจัยพบว่าความต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารและจัดการของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่าด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (X2) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ด้านความพร้อมของระบบเทคโนโลยี (X1) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ด้านบริหารจัดการศึกษา (X3) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06

3. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารและจัดการของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมของระบบเทคโนโลยี (X1) ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (X2) และด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการศึกษา (X3) ผลการวิจัยพบว่า จำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษา และอายุราชการพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

4. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารและจัดการของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมของระบบเทคโนโลยี (X1) ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (X2) และด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการศึกษา (X3) ผลการวิจัยพบว่า จำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษา และอายุราชการ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

Abstract

This research aimed 1) to explore and assess the need using technology for school management of Dipangkornwittayapat (Watnoinai) school, the school under the patronage 2) to compare the condition and the need to use technology for school management by sex, age, education and experience.  The study population consisted of teachers and staff in Dipangkornwittayapat (Watnoinai) school, the school under the patronage of the 61 people. The tools used in the study were a questionnaire about the condition and the need to use technology for school management. The scale had five levels. The reliability level was at 0.869. The statistics used for data analysis were percentage (%), mean (\bar{x}), standard deviation (S.D.), Statistical analysis (t-test) and test the difference in pairs by Scheffe (Scheffe 'Method).

The results showed that:

1. Exploring the use of technology for school management of Dipangkornwittayapat (Watnoinai) school, the school under the patronage. The overall was at the moderate. In ascending order include the availability of information technologies, the information technology in teaching and learning and the use of information technology management, respectively.

2. The demand of technologies for the school management of three sides as the following order. 1) the availability of technology 2) using of technology in teaching and learning 3) using technology for school management. The results showed that the demand of technologies for school management of Dipangkornwittayapat (Watnoinai) school, the school under the patronage, the overall was at the high level. Sorted by descending the side of technology in teaching and learning, the availability of technology and the use of technology for school management, respectively.

3. Comparing the opinions regarding using of technologies for school management of the three aspects: the availability of technology, using technology for teaching and learning and using technology for school management by sex, age, education and experience the result had shown that the difference was statistically significant at the .05 level.

4. Comparing the opinions on the need of using technology for school management of Dipangkornwittayapat (Watnoinai) school, the school under the patronage three aspects: the availability of technology, using technology in teaching and learning and the use of technology for school management by sex, age, education and experience found that the difference was statistically significant at the .05 level.

คำสำคัญ

สภาพและความต้องการการใช้เทคโนโลยี, การบริหารจัดการ, โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ

Keyword

State and Need of Technology, Management, Dipangkornwittayapat (Watnoinai) School
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 339

เมื่อวานนี้: 639

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,911

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033