บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุสัมผัสสำหรับเด็กอนุบาลปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนด้วยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุสัมผัส 3) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุสัมผัส 4) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กอนุบาลปีที่ 1 ต่อการเรียนด้วยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุสัมผัส ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการทดลองชนิด (One Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านม่วงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุสัมผัส 2) แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุสัมผัสเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กอนุบาลปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.33/82.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. เด็กมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังเรียนโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุสัมผัส สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเองหลังเรียนโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุสัมผัสสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. เด็กมีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุสัมผัสเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 4.52
Abstract
The study was conducted with these purposes: 1) to develop experience management based on multi-sensory approach for first-year kindergartners to contain the efficiency of 80/80, 2) to compare first-year kindergartners’ basic scientific process skills possessed before and after learning through experience management based on multi-sensory approach, 3) to compare first-year kindergartners’ self-confidences embodied before and after learning through experience management based on multi-sensory approach, 4) to investigate first-year kindergartners’ satisfaction of learning through experience management based on multi-sensory approach. One Group Pretest-Posttest Design was adopted for this experiment. The subjects were 15 first-year kindergartners who were student in 2015 academic year at Ban Muangwittaya School under Sakon Nakhom Primary Educational Service Area 1. They were purposively selected. Both quantity and qualitative data were collected and analyzed. The instruments used included 1) experience management plans constructed according to multi-sensory approach, 2) the test to measure the students’ basic scientific process skill, 3) the form to observe and record the students’ self-confidences, and 4) the questionnaire to explore the students’ satisfaction.
The study unveiled these results:
1. The developed experience management based on multi-sensory approach for first-year kindergartners to contain its efficiency of 81.33/82.22 which was higher than the set criteria of 80/80.
2. After first-year kindergartners had learnt through the experience management based on multi-sensory approach, their basic scientific process skills were statistically higher than those of before at .01 level of significance.
3. After first-year kindergartners had learnt through the experience management based on multi-sensory approach, self-confidences was statistically higher than that of before at .01 level of significance.
4. First-year kindergartners had their satisfaction of learning through experience management based on multi-sensory approach at the higher level. The average scale of satisfaction was 4.52.
คำสำคัญ
แนวคิดพหุสัมผัส, ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน, ความเชื่อมั่นในตนเองKeyword
Multi-sensory approach, basic scientific process skills, self-confidenceกำลังออนไลน์: 17
วันนี้: 38
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,773
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033