บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่างาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที (t–test for Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพเป็น 77.41/77.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this study were to 1) develop the efficiency of the Development of Instructional Package by Using Student Teams Achievement Division Entitled “Surface Area and Volume” which contained the standard efficiency, 2) compare student’s learning achievement they had learnt through the Development of Instructional Package by Using Student Teams Achievement Division between before and after, and 3) investigate the students’ satisfaction toward the Instructional Package by Using Student Teams Achievement Division.
The sampling group consisted of 17 Mathayom Suksa 3 students at BanTha-ngam School under the Office of the Primary Educational Services Area 3 in the second semester of 2015 academic year selected by Cluster random sampling.
The instruments were used: 1) Instructional Package by Using Student Teams Achievement Division entitled “Surface Area and Volume,” 2) a test of learning achievement, and 3) the questionnaire to survey the students’ satisfaction toward the Instructional Package by Using Student Teams Achievement Division. The statistics employed to analyze the data percentage, mean, standard deviation and t–test (Dependent Samples).
The findings of this study were as follows:
1. The efficiency of Instructional Package by Using Student Teams Achievement Division entitled “Surface Area and Volume” was 77.41/77.25 which was higher than the set criterion of 75/75.
2. The student’s learning achievement after they were taught through the Instructional Package by Using Student Teams Achievement Division entitled “Surface Area and Volume” was higher than those before learning at the .01 level of significance.
3. The students’ satisfaction toward the Instructional Package by Using Student Teams Achievement Division was at the high level.
คำสำคัญ
ชุดการเรียนการสอน, การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD, พื้นที่ผิวและปริมาตรKeyword
Instructional Package, Student Teams Achievement Division, Surface Area and Volumeกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,617
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,606
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033