บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สหกรณ์นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สหกรณ์นักเรียน 3) ศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ได้เรียนตามหลักสูตร และ 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สหกรณ์นักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 8 คน การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สหกรณ์นักเรียน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษา และสำรวจข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร และ 4) การประเมินผลการใช้หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สหกรณ์นักเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน และ 4) แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบวิลคอกซัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สหกรณ์นักเรียน ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4) ผลการเรียนรู้ 5) สาระการเรียนรู้ 6) โครงสร้าง หลักสูตร 7) คำอธิบายรายวิชา 8) หน่วยการเรียนรู้ 9) แนวทางการจัดการเรียนรู้ และ 10) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( = 4.72) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.38/84.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สหกรณ์นักเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 91.87 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80
4. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สหกรณ์นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.52)
Abstract
The purposes of this study were to: 1) develop an additional Course Curriculum ‘Students’ Cooperative’ In the Social studies, Religion, and Culturer Learning Substance Group for Prathom Suksa 5 Students, BanKok Sa-aad School, Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1 to have an efficiency criterion of 80/80, 2) compare learning achievements of Prathom Suksa 5 Students, Ban Kok Sa-aad School between before and after learning through the use of the curriculum, 3) investigate performance skills of the students who Learned through the curriculum, and 4) examine students’ attitude towards Learning based on the additional course curriculum ‘Students’ Cooperative’ The samples used in this study was 8 Prathom Suksa 5 student at of Ban Kok Sa-aad School, Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1 in the first semester of academic year 2015. The instruments used comprised: 1) an additional course curriculum ‘Students’ Cooperative, In the Social studies, Religion, and Culturer Learning Substance Group for Prathom Suksa 5 Students, Ban Kok Sa-aad School, 2) a tests of learning achievement, 3) a form for measuring performance skills, and 4) a form for measuring attitude. The Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon Matched pairs signed-ranks test.
The findingsdisclosed as follows:
1. The developed additional course curriculum ‘Students’ Cooperative’ comprised: 1) rationale, 2) objective, 3) desirable characteristics, 4) learning outcome, 5) learning substance, 6) curriculum structure, 7) course description, 8) learning units, 9) learning management guideline, and 10) learning measurement and evaluation. The result of assessing the curriculum as a whole from the experts showed that the curriculum was appropriate at the highest level ( = 4.72) and had efficiency of 89.38/84.68 which was higher than the efficiency criterion set at 80/80.
2. Learning achievements after learning based on the curriculum was higher than before learning at the .01 level of sighificance which was according to the hypothesis stated.
3. Students’ performance skills gained a mean score of 91.87 which higher than the criterion of 80 out of 100.
4. Students’ attitude towards Learning as a whole based on the additional course curriculum ‘Students’ Cooperative’ was at highest level ( = 4.53, S.D. = 0.52).
คำสำคัญ
หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม, สหกรณ์นักเรียนKeyword
Additional Course Curriculum, Students’ Cooperativeกำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,608
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,597
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033