บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ 3) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการและ 4) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ จำนวน 6 แผน 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบสังเกตความเชื่อมั่นในตนเอง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test (ชนิด Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าเท่ากับ 83.17/81.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ โดยรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับมาก ( = 2.67)
Abstract
The purposes of this research were to: 1) develop the project Based learning Experience Arrangements for Developing Science Process Skills and Self-Confidence of Early Childhood Children to reach the efficiency criterion of 80/80, 2) compare early childhood children’s science process skills between before and after the arrangements of PBL experience, 3) compare early childhood children’s self-confidence between before and after the PBL experience arrangements, and 4) examine early childhood children’s satisfaction with the arrangements of PBL experience. A sample as selected by cluster random sampling was 30 kindergarten 1/2 students enrolling at Kusuman Kindergarten School in the first semester of academic year 2015. The instruments used in experiment were: 1) 6 plans of the arrangements of PBL experience, 2) an assessment form of science process skills, 3) an observation form of self-confidence, and 4) a satisfaction questionnaire. The statistics used to analyze data were mean, percentage, standard deviation and, t-test of dependent samples.
The results of this research revealed that:
1. The efficiency of the arrangements of PBL experience for developing science process skills and self-confidence of early childhood children had an index of 83.17/81.00, which was higher than the criterion set at 80/80.
2. The early childhood children’s science process skills after they were treated with the arrangements of PBL experience were significantly higher than those before the treatment at the .01 level.
3. The self-confidence of the early childhood children who gained PBLexperience as a whole after the treatment was significantly higher than that before the treatment at the .01 level.
4. The early childhood children’s satisfaction with the arrangements of PBL experience for developing science process skills and self-confidence was at the high level ( = 2.67).
คำสำคัญ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้, การเรียนรู้แบบโครงการ, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ความเชื่อมั่นในตนเองKeyword
Learning Experience Arrangements, Project Based Learning, Science Process Skills, Self-Confidenceกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,593
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,582
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033