...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2559
หน้า: 223-236
ประเภท: บทความวิจัย
View: 209
Download: 218
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Developing a Model of Providing Creative Problem Solving Experiences for the Second Year Kindergarten Children
ผู้แต่ง
วิชชุตา ดาคำ
Author
Witchuta Dakhum

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ 4) ประเมินผลรูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล 4 “รัฐประชานุเคราะห์” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2) แผนการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่าการจัดประสบการณ์ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นการกระตุ้นให้เด็กใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ คิดหาเหตุผล ในการนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่มีอยู่ตามระดับพัฒนาการมาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่เป็นของตนเอง มีลักษณะแปลกใหม่ต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิมและ/หรือมีวิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลายมากกว่าหนึ่งแนวคิดหรือหนึ่งวิธี

 2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหา 4) ขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล ซึ่งขั้นตอนการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมกำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 การคิดค้นหาทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 3 การเสนอกลวิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 การฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 การประเมินผลการแก้ปัญหา และผลการหาประสิทธิภาพโดยการทดลองภาคสนามได้ค่า 86.75/84.54

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.25/91.00

4. ผลการประเมินผลรูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่าความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate basic data in developing a model of providing creative problem solving experiences for the second year kindergarten children, 2) to develop a model of providing creative problem solving experiences, 3) to experiment in using the model of providing creative problem solving experiences, and 4) to assess the model of providing creative problem solving experiences. The sample was 25 second year kindergarten children who studied in the first semester of academic year 2014 at the Municipal School 4 ‘Ratprachanukhrau’, Department of Education, Mueang district, Sakon Nakhon province. The instruments used comprised: 1) a model of providing creative problem solving experiences, 2) a plan of providing creative problem solving experiences, and 3) a test of ability in problem solving. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation and t-test for dependent samples.

The findings were:

 1. The result of investigating basic data in developing a model of providing creative problem solving experiences for the second year kindergarten children showed that the provision of creative problem solving experiences was to stimulate the children’s imagination, creative thinking, finding a reason in applying knowledge, skills and experiences available according to the degree of their own development to solve the problem by means of their own, which is new, novel and different from the existing one/or by diverse methods of problem solving which are more than just one idea or one means.

2. The model of providing creative problem solving experiences for the second year kindergarten children comprised: 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) process of providing the learning experience, and 5) measurement and evaluation. The process of providing experiences consisted of 5 steps: step 1–preparedness for defining the problem or problem finding, step 2–search for making a problem understanding or idea finding, step 3–presentation of a problem-solving strategy or strategy finding, step 4–action in problem solving or action finding, step 5–assessment of problem solving or assessment finding. The result of finding efficiency (E1/E2) through the field try-out derived the overall efficiency of the experience provision model equal to 86.75/84.54 which was higher than the set criterion.

3. The result of experiment in using the model of providing creative problem solving experiences for the second year kindergarten children through the treatment with the target group showed that its efficiency reached at 93.25/91.00.

4. The result of assessing the model of providing creative problem solving experiences for the second year kindergarten children showed that their ability in creative problem solving after being provided with experiences was significantly higher than that before the treatment at the .01 level.

คำสำคัญ

รูปแบบการจัดประสบการณ์, การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

Keyword

Model of providing experiences, Creative problem solving
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 27

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,614

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,603

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033