บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) หาประสิทธิภาพของหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบึงของหลงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 74 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การวิจัยครั้งนี้ มีขั้นตอนในการดำเนินการเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 ขั้นนำหลักสูตรไปใช้ ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 5 ขั้นแก้ไขปรับปรุงหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนามีประสิทธิภาพ 88.72/89.86 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรบูรณาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79)
Abstract
The purposes of this research were to : 1) develop the integrated curriculum on Buengkhonglong Wetland for Prathom Suksa 6, 2) examine the efficiency of the integrated curriculum on Buengkhonglong Wetland for Prathom Suksa 6 developed by the researcher based on the set criteria of 80/80, 3) compare the learning achievement of Prathom Suksa 6 students on Buengkhonglong Wetland gained before and after they had learnt through the integrated curriculum on Bueng Khong Long Wetland for Prathom Suksa 6 developed by the researcher, 4) investigate students’ satisfaction towards the integrated curriculum on Buengkhonglong Wetland for Prathom Suksa 6. The samples were 74 Prathom Suksa 6 students in the first semester of 2014 academic year at Buengkhonglongwittaya School under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area selected by cluster random sampling. The research followed the following procedure : 1) investigation of the fundamental data, 2) curriculum development, 3) curriculum implementation, 4) curriculum evaluation, and 5) curriculum improvement. The findings were as follows : 1. The developed integrated curriculum on Buengkhonglong Wetland for Prathom Suksa 6 had its efficiency of 88.72/89.86. 2. The learning achievement after learning through the developed integrated curriculum on Buengkhonglong Wetland for Prathom Suksa 6 was higher than that of before learning at the 0.01 level of significance. 3. The satisfaction of the students towards the developed integrated curriculum on Buengkhonglong Wetland for Prathom Suksa 6, as a whole, was at the highest level ( = 4.79).
คำสำคัญ
พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง, หลักสูตรบูรณาการKeyword
Buengkhonglong Wetland, Integrated Curriculumกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,466
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,455
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033