...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2559
หน้า: 145-156
ประเภท: บทความวิจัย
View: 169
Download: 69
Download PDF
การสร้างแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวล สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
A Construct of Personality Test in Anxiety for Freshermore Students in Faculty of Education Sakon Naknon Rajabhat University
ผู้แต่ง
มารศรี กลางประพันธ์, พิตร ทองชั้น, สุมาลี สมพงษ์, อนันต์ บัวบาน, สมศักดิ์ เจริญสุข
Author
Marasri Klangprapan, Pitr Thongchant, Sumalee Sompong, Anant Buaban, Somsak Chareansuk

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวล สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และเพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น และค่าอำนาจจำแนก แบบทดสอบฉบับนี้วัดบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวลของนักศึกษาทั้งหมด 5 ด้าน คือ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับครอบครัว ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคบเพื่อน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเงิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 211 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 6 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวล วิธีการศึกษา คือ การทดสอบ 3 ครั้ง การทดสอบครั้งที่ 1 หาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบเพื่อคัดเลือกพร้อมทั้งปรับปรุงข้อสอบ การทดสอบครั้งที่ 2 หาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบอีกครั้งและคัดเลือกข้อสอบพร้อมทั้งปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 และการทดสอบครั้งที่ 3 เพื่อหาค่าอำนาจจำแนกโดยใช้เทคนิค 25 เปอร์เซ็นต์ ของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำแล้วเปรียบเทียบโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของ Cronbach’s Alpha และหาค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยวิธีเทคนิคกลุ่มรู้ชัดอยู่แล้ว (Known-grouped technique)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวลมีค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแต่ละด้านทั้ง 5 ด้าน มีค่าตั้งแต่ 0.54-0.74 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าสูงเท่ากับ 0.91 ซึ่งถือว่ามีค่าความเชื่อมั่นสูง

3. ค่าความเที่ยงตรงเชิงดุลยพินิจหรือค่า IOC ซึ่งคำนวณจากความคิดเห็นสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ท่าน มีค่าตั้งแต่ 0.71–1.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ คือ 0.50 ขึ้นไปถือว่าใช้ได้ดีหรือมีคุณภาพ

4. ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบที่หาโดยเทคนิคกลุ่มที่รู้ชัดอยู่แล้ว มีค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทำให้ได้แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวลที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน จำนวนทั้งสิ้น 35 ข้อ โดยแบ่งเป็นแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวลที่เกี่ยวกับครอบครัว การคบเพื่อน การเรียน สุขภาพร่างกาย และการเงิน จำนวน 7, 8, 7, 6 และ 7 ข้อ ตามลำดับ

Abstract

The purposes of this study were to : 1) construct an appropriate quality personality test in anxiety for freshermore Students in Faculty of education, Sakon Nakhon Rajabhat University. 2) analysis a quality of personality test in anxiety about validity, reliability, and discriminant. This test was composed of five aspects of personality in anxiety that is anxiety to ; family, friendship, study, health, and economy. The samples of the study were all 211 freshemore students of academic year 2015 in faculty of education, Sakon Nakhon Rajabhat University. These samples were randomized by the simple random sampling technique through the classroom as the random unit. The samples wers all 6 classrooms. The instrument was the personaility test in anxiety. The procedure of studying consisted of three testing. The first testing was for reviewing and selecting test items and finding discriminating power. The second one to refind the discriminating power of the test and to select test items. And the third one was for finding discriminating power by 25 percent technique of deviation/dividing the samples into the high group and low group. A comparison between those groups by using t-test, the reliability by using the Cronbach’s Alpha Coefficient, and the construct validity by using known-grouped technique.

The finding of this study were as follows:

1. The discriminating power was highly significant at the .05 level.

2. The reliability on each aspect of anxiety, which was calculated by Cronbach’s Alpha Coefficient, ranged from 0.54 to 0.74, and the reliability of the whole test was 0.91, that was highly reliability.

3. The face vailidity or IOC (Index of Items–Objective Congruence) values by experts’ opinions (7 persons) ranged from 0.71 to 1.00, which passed the criterion of 0.50.

4. The construct validity, which was calculated by known-grouped technigue, was highly significant at .05 level. The appropriate quality personality test in anxiety by standard criterion was composed of 35 items, which divided into 5 aspects of personality in anxiety that is anxiety to family, friendship, study, health, and economy, which each consisted of 7, 8, 7, 6, and 7 items, respectively.

คำสำคัญ

แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวล, ความเที่ยงตรง, ความเชื่อมั่น, ค่าอำนาจจำแนก

Keyword

Personality test in anxiety, Validity, Relieability, Discrimination
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 400

เมื่อวานนี้: 477

จำนวนครั้งการเข้าชม: 790,449

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033