บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ปีการศึกษา 2559 ชั้นปีที่ 1 จำนวน 5 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 4 คน และชั้นปีที่ 3 จำนวน 8 คน รวมจำนวน 17 คน กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษในครั้งนี้เป็นค่ายกลางวัน (Day Camp) จัดขึ้นเป็นเวลา 15 วันๆ ละ 6 ชั่วโมง รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 90 ชั่วโมง กิจกรรมประกอบด้วย เกมภาษา เพลง บทบาทสมมุติ ละคร สถานการณ์จำลอง กิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมทัศนศึกษา ลักษณะของกิจกรรม ประกอบด้วย 3 ช่วงระยะ ดังนี้ 1) ช่วงแรกเป็นกิจกรรมสร้างความคุ้นเคย 2) ช่วงกลางเป็นกิจกรรมฝึกความคล่องแคล่วทางภาษา และ 3) ช่วงท้ายเป็นกิจกรรมบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ 2) แบบทดสอบ ELLIS Placement Test และ 3) แบบประเมินความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษมีความสามารถทางภาษาอังกฤษด้านคำศัพท์ ไวยากรณ์ และการฟัง สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษมีความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purpose of the English Day Camp research was to compare the Mathematics Teacher Education English Program students’ ability before and after participating in the English Day Camp. The research samples were 17 students for the 2559 academic year: five first year students; four second year students; and eight third year students. The English Day Camp was operated for 90 hours for 15 days for six hours per day. The activities consisted of language games, songs, role-playing, a play, simulation, group activity, and field trip.
The study process comprised of three aspects: 1) Beginning aspect was getting to know each other; 2) Middle aspect was hands on English fluency activities and 3) Last aspect was the creativity of the integration of knowledge and skills activities.
The collecting data instruments were from three sources: 1) English Camp Activity Manual; 2) ELLIS Placement Test and 3) English Communication Test. The data was analyzed by using Mean (), Standard Division and the t-test for Dependent Samples.
The research results have been demonstrated as follows:
1. Students who participated in English Day Camp had gained abilities in vocabulary, grammar and listening statistically significant at .01.
2. Students who participated in English Day Camp had high ability to speak English for Communication statistically significant at .01.
คำสำคัญ
ค่ายภาษาอังกฤษKeyword
English campกำลังออนไลน์: 46
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,574
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,563
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033