บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนากระบวนการในพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเชิงระบบ 3) ประเมินกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเชิงระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ โรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) 1) ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากได้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และเขต 2 จำนวน 258 โรง 2) ใช้สูตรของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ที่จำนวนประชากร 260 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ 155 จากนั้นจับสลากชื่อโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และเขต 2 3) ใช้วิธีสุ่มแบบโควต้า (Quota sampling) โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร 54 คน และครู 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) แบบประเมินกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเชิงระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentange) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.24) ส่วนด้านสภาพความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 5.54 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.16)
2. การพัฒนากระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเชิงระบบ มีองค์ประกอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงของสังคม แนวโน้มใหม่ต่างๆ ของโลก จิตวิทยาการเรียนรู้ และความต้องการของสังคม 2) ด้านขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 ขั้น ได้แก่ การวิเคราะห์พื้นฐานและกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้ และการกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ 3) ด้านกระบวนการวิธีวิภาษ ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ได้แก่ การคัดเลือกสมาชิก การเลือกตัวแทน การนำเสนอของตัวแทน และการตรวจสอบผลอีกครั้งของสมาชิก
3. ผลการประเมินกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเชิงระบบ โดยผู้เชี่ยวชาญปรากฏว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.4 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.09 และสำหรับค่าเฉลี่ยรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านความเหมาะสมในการนำไปใช้มีค่าเฉลี่ย 4.49 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านแนวคิดทฤษฎีและ ด้านแหล่งข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 เท่ากันทั้งสองด้าน ด้านกระบวนการ พัฒนาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และด้านขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.381
Abstract
The objectives of this research were (1) to study the problems and needs for curriculum development in basic education (2) to development systematic curriculum development process in basic education and (3) to assess the systematic process in curriculum development. The research sample consisted of 155 primary schools selected from multi-stage sampling ; randomly sampling from draw lots of 258 primary schools within Pathumthani and Saraburi primary educational service area 1 and 2 ; applying Krejcie & Morgan (1970) table for calculating the sample size of 260 schools which the sample size of this research is 155 and then drawing lots of 155 schools ; employing quota sampling by determining two target group of samples that were school executives and teachers with 54 and 101 persons respectively.
The research instruments were a rating-scale questionnaire on the problems and needs for curriculum development and rating scale expert assessment. Frequency, percentage, means, standard deviation (S.D.) was employed in the data analysis. The study result revealed as followed: 1) The problems for curriculum development process in basic education as a whole was highest level, mean and standard deviation was 4.49 and 0.24 respectively. On the needs for curriculum development in basic education as a whole, mean and standard deviation was 4.54 and 0.16 respectively implying the highest level of the respondent ‘s need for curriculum development. 2) The systematic curriculum development process in basic education consisted of three component: (1) basic source component–social changes, new trends of the world, learning psychology, and social needs– (2) curriculum development steps– curriculum basic analysis and objectives setting, determining learning content being consistent with the curriculum’s objective, setting learning methods according to learning psychology, and determining course’s assessment and evaluation harmonizing with social needs– (3) dialectic process–members recruitment, representative selection, issue presentation, and members re-checking. 3) The result of expert assessment by questionnaires found that there was highest level as a whole which mean and standard deviation was 4.4 and 0.09 respectively while the level of all aspects was at highest. The highest mean score was on the application aspect at 4.49 while the second high score was on theory and curriculum aspect which means score was 4.45. The third high mean score was on curriculum development process was 4.41. The lowest mean score was on curriculum development steps which mean score was 4.38.
คำสำคัญ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, การวิเคราะห์เชิงระบบ, กระบวนการวิภาษKeyword
curriculum process development, basic education, systematic analysis, dialectic processกำลังออนไลน์: 38
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,587
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,576
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033