...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2559
หน้า: 71-81
ประเภท: บทความวิจัย
View: 437
Download: 110
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Development of a Health Education Instruction Model for Mathayom Suksa 1 Students to Enhance Their Ability in Problem Solving and Learning Achievement Based on the Constructivism Theory
ผู้แต่ง
สมศักดิ์ อุ่นบุญเรือง
Author
Somsak Oonbunrueang

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาที่พัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาที่พัฒนาขึ้น และ 3) ประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาที่พัฒนาขึ้น แหล่งข้อมูลและกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 32 คน 3) เอกสารแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสุขศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจ แหล่งข้อมูลและกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 2, 3 ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล 3 “ยุติธรรมวิทยา” ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน ได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่ม (Cluster random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ ความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา 3) รูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) แบบทดสอบการวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 5) แบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสุขศึกษา และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคำนวณสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test ชนิด Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล ซึ่งกระบวนการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม ค้นพบทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 2 ฝึกปฏิบัติ ระบุปัญหา ค้นหาคำตอบ ขั้นที่ 3 รวบรวมข้อมูลและเสนอวิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และสรุปการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 ประเมินผลการเรียนรู้ ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกัน (\bar{x} = 4.77, S.D. = 0.45) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 32 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 80.69/82.03

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดย 83.49/83.83

3. ผลการประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาที่พัฒนาขึ้น มีผลดังนี้

3.1 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.61, S.D. = 0.21)

Abstract

This study of developing a health education instruction model for Mathayom Suksa 1 students to enhance their problem solving ability and achievement of learning based on the constructivism theory is a type of research and development (R&D) which had the following objectives: 1) to develop a health education instruction model based on the criterion of efficiency set at 80/80, 2) to experiment in using the developed health education instruction model, and 3) to assess the developed health education instruction model. The sources of data and target group according to the 1st objective were: 1) 5 experts, 2) 32 Mathayom Suksa 1 students of Municipal Secondary School 3 ‘Yutithum-Withaya’ in the first semester of academic year 2014, who were not the sample, 3) documents of concepts and theories related to ability in problem solving and learning achievement of health education, and a satisfaction questionnaire. The sources of data and target group according to the 2nd and 3rd objectives were: 1) 35 Mathayom Suksa 1 students in one classroom as selected by cluster random sampling, who were enrolled in the second semester of academic year 2014 at Municipal Secondary School 3 ‘Yutithum-Withaya’. The instruments used comprised: 1) a form for analyzing documents, 2) a guide for interviewing teachers’ and students’ opinion on management of health education instruction, 4) a model of health education instruction based on the constructivism theory for enhancing ability in problem solving and learning achievement for Mathayom Suksa 1 students, 5) a test of ability in problem solving, 6) a test of learning achievement in health education, 7) a questionnaire of students’ satisfaction. Data analysis was conducted using a statistical package and done by content analysis. Statistics used were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.

The findings were:

1. The developed model of health education instruction comprised: 1) principles, 2) objectives, 3) learning process, and 4) measurement and evaluation. There were 5 steps in part of learning process: step 1–prepare, discover and understand the problem, step 2–practice in performance, define the problem and search for answers, step 3–collect data and present a problem solving method, step 4–exchange what being learned and conclude the problem solving, step 5–assess learning by checking the agreement of the developed instructional model using experts. It was found that the experts totally agreed with it (\bar{x} = 4.77, S.D. = 0.45). As it was brought to find efficiency (E1/E2) with the 32 Mathayom Suksa 1 students, the efficiency derived was 80.69/82.03.

 2. The result of experiment in using the developed model of instruction showed that the result of efficiency finding (E1/E2) by treatment with the sample got the efficiency of instructional model equal to 83.49/83.83.

3. The results of assessing the developed health education instruction model was as follows:

 3.1 Ability in problem solving of students who learned through the developed health education instruction model after learning was significantly higher than that before the treatment at the .01 level.

3.2 Learning achievement of students who learned through the developed health education instruction model after learning was significantly higher than that before the treatment at the .01 level.

3.3 Students’ satisfaction with the developed instructional model was at the highest level (\bar{x} = 4.61, S.D. = 0.21)

คำสำคัญ

ทฤษฎีการสร้างความรู้, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

Keyword

Ability in Problem Solving, Constructivism Theory
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 12

วันนี้: 244

เมื่อวานนี้: 477

จำนวนครั้งการเข้าชม: 790,293

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033