...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2559
หน้า: 49-59
ประเภท: บทความวิจัย
View: 255
Download: 99
Download PDF
การพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภท กาพย์ยานีและกาพย์ฉบังร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค ผังความคิด สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิชาภาษาไทย
Development of Students’ Ability in Writing Kapyanee and Kapchabang Poems by Using the Activity Package for Strengthening the Ability in Writing Kapyanee and Kapchabang Poems, Cooperative Learning Model and Mind Mapping Technique for Thai Major Students W
ผู้แต่ง
จินดา ลาโพธิ์
Author
Jinda Lapho

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบังของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิชาภาษาไทย ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบังร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคผังความคิดระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิชาภาษาไทย ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบังร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ และเทคนิคผังความคิด

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 16 คน ได้มาด้วยการคัดเลือกจากผลการทดสอบความสามารถในการแต่งกาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยที่สุด แล้วแบ่งผลการทดสอบออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน จากนั้นสุ่มในอัตรา 1:2:1

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ ยานีและกาพย์ฉบังสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิชาภาษาไทย จำนวน 4 ชุด 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นคำถามแบบปรนัยชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นคำถามแบบอัตนัย ชนิดให้แต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี ความยาวไม่น้อยกว่า 3 บท และกาพย์ฉบัง ความยาวไม่น้อยกว่า 2 บท ตามหัวข้อที่กำหนดให้ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 12 ข้อ ดำเนินการวิจัยโดยใช้แผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบ Dependent Sampl

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบังของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบังร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคผังความคิด สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิชาภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบังร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคผังความคิด สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิชาภาษาไทย อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (\bar{x}) เท่ากับ 4.23

Abstract

The objectives of this research were : 1) to compare the ability in writing Kapyanee and Kapchabang poems of Thai major students working for bachelor’s degree in education  before and after studying by using the activity package for strengthening the ability in writing Kapyanee and Kapchabang poems, cooperative learning model and mind mapping technique and 2) to study the students’ satisfaction in learning by using the activity package for strengthening the ability in writing Kapyanee and Kapchabang poems, cooperative learning model and mind mapping technique.

The samples group consisted of sixteen third year Thai major students working for bachelor’ degree of education at Sakon Nakhon Rajabhat University in academic year 2014. These students were selected from the result of a test designed by the researcher for writing Kapyanee and Kapchabang poems. The score were arranged from high to low and divided into three groups, good, medium and poor. Then the students were sampled at 1:2:1.

The instruments used were: 1) four sits of the activity package for strengthening the ability in writing Kapyanee and Kapchabang poems, 2) a poetry writing test consisting of two parts. Part 1 consisted of 20 objective questions. Each question had fine answers. Part 2 was subjective test. The students were required to write not less than three stanzas of Kapyanee poem and two stanzas of Kpachabang poem according to the finer topics and 3) satisfaction questionnaire consisting of 12 questions. The research was a one group pretest-posttest design. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, percentage and t-rest (dependent sample).

The research results were as follows:

1. The ability in writing Kapyanee and Kapchabang poems of third year Thai major students working for bachelor’s degree of education after studying by using the activity package for strengthening the ability in writing Kapyanee and Kapchabang poems, cooperative learning model and mind mapping technique was higher than the students’ ability before studying significantly at .01 level.

2. The satisfaction of the students in studying by using the activity package for strengthening the ability in writing Kapyanee and Kapchabang poems, cooperative learning model and mind mapping technique was at high level. The average (\bar{x}) was 4.23.

คำสำคัญ

ความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง, ชุดกิจกรรม,การเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิคผังความคิด

Keyword

Ability in Writing Kapyanee and Kapchabang Poems, Activity Package, Cooperative learning, Mind Mapping
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 283

เมื่อวานนี้: 477

จำนวนครั้งการเข้าชม: 790,332

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033