บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ ควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ ควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดงหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบวัดความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบวัดเจตคติของนักเรียนหลังเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดงหลวง การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ ควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.73/81.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ มีความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติควบคู่กับกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58)
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the efficiency of the instructional activities based on task based learning and role playing for Prathom Suksa 5 students on the basis of the criterion of 75/75 2) to compare the students’ speaking ability before and after learning through the instructional activities based on task based learning and role playing for Prathom Suksa 5 students 3) to study the students’ attitudes toward the instructional activities based on task based learning and role playing for Prathom Suksa 5 students. The sampling group was 24 Prathom Suksa 5 students from Ban Dong Luang School, under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, selected by cluster random sampling, in the first semester of the academic year 2015. The instruments used were: 1) the instructional activities based on task based learning and role playing for Prathom Suksa 5 students, 2) the English speaking ability test, and 3) the attitude test. The statistics used were mean, percentage, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).
The findings were as follows:
1. The efficiency of the instructional activities based on task based learning and role playing for Prathomsuksa 5 students was 75.73/81.88 which was higher than the set criterion (75/75).
2. The students’ English speaking abilities after learning with the instructional activities based on task based learning and role playing for Prathom Suksa 5 students were higher than the set criterion with the level of significance at .01.
3. The students’ attitudes toward the instructional activities based on task based learning and role playing for Prathom Suksa 5 were at the highest level.
คำสำคัญ
ความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ, การเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ, การแสดงบทบาทสมมติKeyword
English Speaking Ability, Task Based Learning, Role Playingกำลังออนไลน์: 29
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,616
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,605
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033