...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2560
หน้า: 213-223
ประเภท: บทความวิจัย
View: 233
Download: 106
Download PDF
การเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้การวิจัยเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
Comparison of Developing Science Project Skills Using Research Based Learning and Inquiry Method
ผู้แต่ง
ปรีดา มาหินกอง, พรกมล สาฆ้อง, ถาดทอง ปานศุภวัชร
Author
Preeda Mahinkong, Pornkamon Sakong, Tadtong Pansupawatch

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ การวิจัยเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในวิทยาลัยเทคนิคสกลนครที่จัดการเรียนรู้การวิจัยเป็นฐาน 2) ศึกษาระดับทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในวิทยาลัยเทคนิคสกลนครที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้การวิจัยเป็นฐานกับกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่กำลังศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จำนวน 80 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การวิจัยเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (t-test for independent samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่จัดการเรียนรู้การวิจัยเป็นฐาน โดยรวมมีอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายทักษะ พบว่า ทุกทักษะอยู่ในระดับมาก โดยทักษะการดำเนินการศึกษาตามแผนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ทักษะการจัดนิทรรศการ ทักษะการสรุปผลการศึกษา ทักษะการออกแบบ ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการกำหนดปัญหา และทักษะการนำเสนอผลการศึกษา ตามลำดับ

2. ระดับทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยรวมมีอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายทักษะ พบว่า ทุกทักษะอยู่ในระดับปานกลาง โดยทักษะการกำหนดปัญหามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ทักษะการสรุปผลการศึกษา ทักษะการดำเนินการศึกษาตามแผน ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการออกแบบ ทักษะการสรุปผลการศึกษา ทักษะการนำเสนอผลการศึกษา และทักษะการจัดนิทรรศการ ตามลำดับ

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้การวิจัยเป็นฐานกับกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

Abstract

The purpose of this study were 1) to compare Sakon Nakhon Technical College’s Vocational Certificate students’ levels of science project skills obtained through research based learning, 2) to investigate Sakon Nakhon Technical College’s Vocational Certificate students science project skills using inquiry method, 3) to compare Sakon Nakhon Technical College’s Vocational Certificate students’ learning achievements possessed through research based learning and inquiry method. The subjects were 80 second-year students who were studying in the first semester of 2016 academic year for Vocational Certificates at Sakon Nakhon Technical College. These students were obtained by cluster random sampling. The instruments employed for data analysis included 1) lesson plans using research based learning, 2) lesson plans using inquiry method, 3) the test to examine the students’ science project skills, 4) the test to measure the students’ learning achievement and science project skills. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test (Independent Samples).

The study showed the following results:

1. The science project skills of the Vocational Certificate students obtained through research based learning, as a whole and on each aspect, were at the high level. Of all skills, the launching of the project according to the learning plans was at the highest level. The skills of exhibiting the projects, concluding the study, designing the project, setting the hypotheses, establishing the problem, and presenting the results of the study were ranked in the order from the second most to the least skills.

2. The science project skills of the Vocational Certificate students obtained through inquiry method, as a whole and on each aspect, were at the moderate level. The students’ problem solving skill was at the highest level while the skills of concluding the study, launching the project according to the learning plans, setting the hypotheses, designing the project, presenting the results of the study, and exhibiting the study were ranked in the order from the second most to the least skills.

 3. The science project skills of the students who learn through research based learning were not significantly different from those of the students who learnt through an inquiry method at .05 statistical level.

คำสำคัญ

โครงงานวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน, การสืบเสาะหาความรู้

Keyword

Science project, research based Learning, inquiry method
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 11

วันนี้: 688

เมื่อวานนี้: 705

จำนวนครั้งการเข้าชม: 794,688

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033