...
...
เผยแพร่: 10 ม.ค. 2562
หน้า: 139-143
ประเภท: บทความวิจัย
View: 395
Download: 126
Download PDF
การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความคงทนในการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
A Development of the Mathematical Skills Packages Using Cooperative Learning of STAD Model Affecting Analytical Thinking, Learning Achievements and Learning of Retention for Prathom suksa 6 Students
ผู้แต่ง
ลีนวัฒน์ วรสาร, ปัญญา นาแพงหมื่น, ปัณฑิตา อินทรักษา
Author
Leenawat Worrasan, Punya Naphaengmuen, Pundita Intharaksa

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ร้อยละ 50 และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD 5) เปรียบเทียบ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD จำแนกตามระดับความสามารถทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มสูง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเหล่าใหญ่วนาสณฑ์ผดุงเวทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 17 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าประสิทธิภาพ สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนพหุคูณร่วมแบบทางเดียว (One-way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.68 และมีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.53/80.15 แสดงว่ามีประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. การคิดวิเคราะห์ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความคงทนในการเรียนรู้ หลังจากการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วเว้นระยะห่าง 2 สัปดาห์ คะแนนหลังเรียนครั้งที่ 2 สูงกว่าคะแนนหลังเรียนครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้

5. นักเรียนที่ความสามารถทางการเรียนต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลทำให้การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรตามแต่ละด้าน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–way ANCOVA) พบว่า แตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop mathematical skill packages on using cooperative learning of the STAD model for Prathom Suksa 6 students with an effectiveness index of 50 per cent and a required efficiency of 80/80, 2) to compare analytical thinking skill of Prathom Suksa 6 students who learned with mathematical skill packages on the use of cooperative learning of the STAD model between before and after learning, 3) to compare the mathematical learning achievements of Prathom Suksa 6 students who learned with mathematical skill packages on the use of cooperative learning of the STAD model between before and after learning 4) to study the learning retention behavior of Prathom Suksa 6 students after being taught by mathematical skill packages on using the STAD model of cooperative learning, 5) to compare analytical thinking and learning achievements of Prathom Suksa 6 students after applying mathematical skill packages on the use of cooperative learning of the STAD model through the learning abilities of the students divided into high, moderate and low. The samples used this study consisted of Prathom Suksa 6 students in the academic year of 2016 at Laoyai Wanasonphadungwet School, under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3, obtained by using the cluster random sampling technique. The instruments used for the study comprised 1) mathematical skill packages on the use of cooperative learning of the STAD model, 2) an analytical thinking test, and 3) a learning achievement test. The statistics applied for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, paired t-test and F-test (One-way ANOVA), (One-way MANCOVA), and (One-way ANCOVA) was employed for testing hypotheses.

The findings of this study were as follows:

1. The mathematical skill packages on the use of cooperative learning of the STAD model obtained the effectiveness index of .68 and efficiencies (E1/E2) of 81.53/80.15 respectively.

2. The students who were taught by mathematical skill packages on using cooperative learning of the STAD model showed gains in analytical thinking higher than before learning with significant differences at the .01 level.

3. The students’ learning achievements on mathematical skill packages on the use of cooperative learning of the STAD model were higher than those of before learning at the .01 level of significance.

4. The retention of learning of Prathom Suksa 6 students after being taught by mathematical skill packages on the use of cooperative learning of the STAD model in the topic of “Decimal” for Prathom Suksa 6, after 2 weeks, the second post-test score was higher than that of the first post-test score with significant differences at the .01 level. That means the students gained retention of learning.

5. The students who had different learning abilities (high, moderate and low) learned the use of mathematical skill packages on the use of cooperative learning of the STAD model for Prathom Suksa 6 students gained the average scores on analytical thinking and learning achievements at the .01 level of significance.

คำสำคัญ

ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์, การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือรูปแบบ STAD, การคิดวิเคราะห์, ความคงทนในการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keyword

Mathematics Skill Exercises, cooperative learning STAD model, Analytical thinking, Aggressive learning, Learning achievements
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 134

วันนี้: 1,165

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,717

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033