...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2560
หน้า: 135-146
ประเภท: บทความวิจัย
View: 534
Download: 263
Download PDF
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ และสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD
Development of Learning Activity Packages Entitled “Maintaining Human and Animals’ Physical Equilibrium for Mathayomsuksa 5” Using 5E’s Inquiry Learning Cycle and Cooperative Learning (STAD)
ผู้แต่ง
ทิวากร วงษ์เสน, อุษา ปราบหงษ์, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Tiwakorn Wongsen, Usa Praphong, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนแบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนพังโคนวิทยาคม อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์ 2) แผนการสอนแบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t –test) ชนิดไม่เป็นอิสระแก่กัน (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนแบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีประสิทธิภาพ 85.29/85.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.63, S.D. = 0.49)

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop of Learning Activity Packages entitled “Maintaining Human and Animals’ Physical Equilibrium for Mathayom Suksa 5” Using 5E’s Inquiry Learning Cycle and Cooperative Learning (STAD) to contain their efficiency of 80/80, 2) to compare the students’ learning achievement earned before and after learning through the developed learning activity packages, 3) to compare the students’ scientific process skills possessed before and after learning through the developed learning activity packages, and 4) to investigate the students’ satisfaction of learning through the developed learning activity packages.

The subjects were 39 Mathayom Suksa 5/2 who were studying in the first semester of 2016 academic year at Phankhonwittayakhom School, under the Secondary Educational Area Office 23. They were obtained through cluster random sampling.

The instruments included 1) 6 learning activity packages entitled “Maintaining Human and Animals’ Physical Equilibrium for Mathayom Suksa 5”, 2) lesson plans based on 5E’s Inquiry Learning Cycle and Cooperative Learning Cycle (STAD), 3) achievement test, 4) the test to examine the students’ scientific processskills, and 5) a questionnaire to survey the students’satisfactions. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent  Samples).

The findings were as the follows:

1. The Learning Activity Packages Entitled “Maintaining Human and Animals’ Physical Equilibrium for Mathayom Suksa 5” Using 5E’s Inquiry Learning Cycle and Cooperative Learning (STAD) contained their efficiency of 85.29/85.74 which was higher than the set criteria of 80/80.

2. After the students’ had learnt though the learning activity packages, their learning achievement was significantly higher than that of before at .01 level.

3. After the students had learning activity packages, their scientific process skills significantly higher than those of before at .01 level.

4. The students’ satisfaction of learning through the developed learning activity packages was at the highest level (\bar{x} = 4.63, S.D. = 0.49).

คำสำคัญ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้, การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

Keyword

Learning Activity Package, Inquiry Learning Cycle (5E), Cooperative Learning Cycle (STAD)
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 333

เมื่อวานนี้: 705

จำนวนครั้งการเข้าชม: 794,333

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033