...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2560
หน้า: 103-114
ประเภท: บทความวิจัย
View: 186
Download: 85
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ แบบ 5Es โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of the Learning Activities Based on Inquiry Cycle 5Es of the Geometer’s Sketchpad Entitled Surface Area Volume for Mathayom Suksa 3
ผู้แต่ง
อัจฉรา เหลือผล, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Atchara Luephon, Ploenpit Thummarat, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ แบบ 5Es โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่ไม่อิสระจากกัน (Dependent Samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 80.19/80.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.69 ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 69

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop the inquiry learning activity (5Es) by using the Geometer’s Sketchpad (GSP) program on the topic of surface area and volume for Mathayom Suksa 3, aiming to meet the standard efficiency 80/80 criterion, 2) study the efficiency of learning activity, 3) compare the student’s learning achievement between before and after learning, and 4) study about the students’ satisfaction towards the learning activities.

The cluster random sampling technique was employed and the samples were 30 Mathayom Suksa 3 students studying in the first semester of academic year 2016 at Kanchanapisekwittayalai Kalasin School, Khaowong district, Kalasin province, under the secondary educational service area office 24.

The research instruments were 1) lesson plans, 2) learning achievement tests on the topic of surface area and volume, and 3) questionnaires of the students’ satisfaction towards the learning activities. The statistics for analyzing were Arithmetic Mean, Standard Deviation, Percentage, and Dependent Samples t-test.

The results of the study were as follow:

1. The efficiency of the learning activities developed by the researcher was 80.19/80.67, which was higher than the established criterion of 80/80.

2. The effectiveness index of the developed learning activity achieved 0.69 or the percentage of 69.

3. The students’ learning achievement after learning was significantly higher than that of before at .01 level of significance.

4. The students’ satisfaction towards the learning activity was at a high level.

คำสำคัญ

กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ แบบ 5Es, โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad

Keyword

Learning activities inquiry cycle 5Es, The Geometer’s Sketchpad
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 20

วันนี้: 677

เมื่อวานนี้: 705

จำนวนครั้งการเข้าชม: 794,677

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033