...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2560
หน้า: 27-34
ประเภท: บทความวิจัย
View: 147
Download: 83
Download PDF
การสอนอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์โดยผสมผสานแนวคิดอภิปัญญา เทคนิคผังกราฟิก และชุมชนการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Thai Language Teaching Emphasizing Analytical Reading by Blended Metacognition, Graphic Organizer and Collaborative Learning Community
ผู้แต่ง
อนุชิต จันทศิลา
Author
Anuchit Junthasila

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการสอนอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์โดยผสมผสานแนวคิดอภิปัญญา เทคนิคผังกราฟิก และชุมชนการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสร้างคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการสอนอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ การดำเนินงานครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้รูปแบบทดลองกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบทีแบบไม่อิสระ คำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า

1. แผนการจัดการเรียนรู้การสอนอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยผสมผสานแนวคิดอภิปัญญา เทคนิคผังกราฟิก และชุมชนการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสร้างคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.60/88.23 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการสอนอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.46, S.D. = 0.17)

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop the activities of Thai language teaching emphasizing analytical reading by blended metacognition, graphic organizer and collaborative learning community for prathomsuksa 4, Bansangkham school under office of Buengkhan primary education service area, 2) compare the students’ achievements before and after learning through the activities, and 3) study students’ satisfaction towards the activities. This research use the experimental research through employing a one-group pretest-posttest design. The sample was 15 students that were chosen by purposive sampling. Both quantitative and qualitative data were analyzed. The instruments used in study comprised lesson plan, an achievement test and a form for assessing students’ satisfaction towards the activities. The statistics involved mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The data were analyzed by using a statistical package.

The results of this research revealed that:

1. The efficient of lesson plan was 81.60/88.23 higher than the criterion set at 80/80.

2. The achievement after learning was significantly higher than that before significantly at the .01 level.

3. Students’ satisfaction towards the activities was at the higher level (\bar{x} = 4.46, S.D. = 0.17).

คำสำคัญ

การสอนอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์, แนวคิดอภิปัญญา, เทคนิคผังกราฟิก, ชุมชนการเรียนรู้แบบร่วมมือ

Keyword

Thai Language Teaching Emphasizing Analytical Reading, Graphic Organizer, Collaborative Learning Community
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 23

เมื่อวานนี้: 833

จำนวนครั้งการเข้าชม: 794,856

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033