บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮ/สโคป ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนจัดประสบการณ์และหลังจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮ/สโคป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ เด็กชั้นปฐมวัยศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 (รัตนโกสินทร์ 200 ปี) 23 ถนนเทศบาล 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สังกัดสำนักเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 30 คน ได้มาสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮ/สโคป และแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ชนิด t-test Dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮ/สโคป มีประสิทธิภาพเท่ากับ 70.22/87.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์เรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this resrarch were to 1) develop and test efficiency of lesson plans based on high/scope approach for Preschool Children 3 students on the efficiency of 70/70, and 2) compare science process skills of Preschool Children 3 students both before and after using lesson plans based on high/scope approach. The sample of the study consisted of 30 Preschool Children 3 students of Tassaban 4 (Ruttanagosin 200 years) School; 23 Tessaban road, Tambon Nai Meuang, Amphoe Meuang, Nakhon Phanom, Nakhon Phanom primary. They were randomly selected by the cluster random sampling teahniqe. The instruments were included of lesson plans based on high/scope approach, pretest and posttest of science process skills. The collected data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent samples).
The results of this study were as follows:
1. The efficiency of lesson plans based on high/scope approach for Preschool Children 3 students was 70.22 and 87.67 percent, respectively. The average percentage means of the constructed materials exceeded the expected criterion (70/70).
2. The scientific process skills of preschool children 3 students after using lesson plans based on high/scope approach were higher than before using constructed materials at significant level of .01.
คำสำคัญ
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ไฮ/สโคปKeyword
The Development of Science Process Skills, High/Scopeกำลังออนไลน์: 14
วันนี้: 920
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,955
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033