บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบการแบ่งปันความสำเร็จ (STAD) แบบช่วยกันคิดช่วยกันเรียน (TAI) และแบบเรียนรู้ร่วมกัน (LT) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบการแบ่งปันความสำเร็จ (STAD) แบบช่วยกันคิดช่วยกันเรียน (TAI) และแบบเรียนรู้ร่วมกัน (LT) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 87.96/80.43 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.70)
Abstract
The objectives of This research were; 1) to Develop of Learning Activities Packages Based on Cooperative Learning : Student Teams Achievement Division (STAD), Team-Assisted ndividualization (TAI) and Learning Together (LT) in the Biology Subject Entitled “Balance of Life” for Mathayomsuksa 4 to be efficient by 75/75 criterion, 2) to compare achievements gained before and after by Learning Activities Packages Based on Cooperative Learning, 3) to compare the students’ scientific process skills gained before and after they had learnt through the Learning Activities Packages Based on Cooperative Learning, and 4) to study students’ satisfaction towards Learning Activities Packages Based on Cooperative Learning The sample group was 16 students of Mathayomsuksa 4/1 in the 2th semester of the academic year 2016, Banyai Pittayakhom School Khonburi, Khonburi Nakhonratchasima. They were obtained by cluster Random Sampling. The research instruments consisted of: 1) learning activities packages, 2) the lesson plan 3) the achievement test, 4) the scientific process skills test, and 5) the satisfaction questionnaire. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).
The results of the research were found as the following:
1. The Learning Activities Packages Based on Cooperative Learning which the researcher developed, was efficient at 87.9/80.43, higher than the set criterion of 75/75.
2. The posttest learning achievement of the students by the Learning Activities Packages Based on Cooperative Learning was significantly higher than the pretest at the .01 level.
3. After the students had learnt through the Learning Activities Packages Based on Cooperative Learning their scientific process skills were statistically higher than those of before at .01 level.
4. The student’s satisfaction had learnt with the Learning Activities Packages Based on Cooperative Learning was at the high level ( = 4.44, S.D. = 0.70).
คำสำคัญ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, แบบการแบ่งปันความสำเร็จ (STAD), แบบช่วยกันคิดช่วยกันเรียน (TAI), แบบเรียนรู้ร่วมกัน (LT)Keyword
Learning Activities Packages, cooperative learning, Student Teams Achievement Division (STAD), Team-Assisted Individualization (TAI), Learning Together (LT)กำลังออนไลน์: 15
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,654
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,643
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033