บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัสเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัส ก่อนและหลังการทดลอง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยทีมีต่อการเรียนด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัส
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนบ้านดงหลวง อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 20 คนซึ่งได้มาจากการสุมแบบกลุม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัส แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิจัยใช้รูปแบบการทดลองแบบ One Group Pretest–Possttest Design สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ ค่าที ชนิด Dependent Samples (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.22/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6482 แสดงว่า เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น 0.6482 คิดเป็นร้อยละ 64.82
3. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หลังได้รับการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัส สูงกว่าก่อนการได้รับการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัสมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย () 2.98 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.02
Abstract
The purposes of this study were 1) to find the efficiency of the learning activities using brain base and multisensory approach to enhance preschoolers’ basic mathematics skills in according to the criteria of 80/80, 2) to seek for the effectiveness index of the learning activities using brain base and multisensory skills, 3)to compare the preschoolers’ basic mathematics skills earned before and after learning through the activities using brain base and multisensory approach, and 4) to investigate the preschoolers’ satisfaction of learning through the activities using brain base and multisensory approach.
The subjects consisted of 22 kindergarteners 2/2 (both boys and girls) who were studying in the second semester of 2016 academic year at Ban Dong Luang School, Tao Ngoi District, Sakon Nakhon Provice under the Office of Primary Educational Service Area 1. They were selected by cluster random sampling. The instruments used in the study included the instructional plans using brain base and multisensory approach, the teat to evaluate basic mathematics skills, and a questionnaire to explore satisfaction. The study employed One Group Pretest-Posttest Design. The statistics used in the study were percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).
The study showed the following results:
1. The constructed learning activities using brain base and Multisensory approach had their efficiency of 80.22/82.50 which was higher than the set criteria of 80/80.
2. The learning activities using brain base and multisensory approach to enhance preschoolers’ basic mathematics skills had their effective index of 0.6482. This meant that the preschool’s basic mathematics skills increased 64.82.
3. After the preschools had learnt through the leaning activities using brain base and multisensory approach, their basic mathematics skills were significantly higher than those of before at .01 statistical level.
4. The preschoolers’ average satisfaction of learning the learning activities using brain base and multisensory approach was at 2.98 which was at the high level.
คำสำคัญ
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, แนวคิดพหุสัมผัส, ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์Keyword
Brain base, multisensory approach, basic mathematics skillsกำลังออนไลน์: 14
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,657
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,646
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033