บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการเจริญเติบโตและระบบร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน 16 คน โรงเรียนบ้านสามขัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 86.51/84.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7449 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 74.49
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = .08)
Abstract
This study aimed: 1) to investigate efficiency of collaborative learning activities entitled ‘Growth and Human Body Systems’ in the Science Learning Substance Group for sixth graders according to the criterion set at 80/80, 2) to examine an effectiveness index of learning through the use of collaborative learning activities, 3) to compare learning achievement through the use of collaborative learning activities between before and after learning, and 4) to investigate attitude toward science learning through the use of collaborative learning activities. The sample selected by cluster random sampling in this school was 16 sixth graders of year 2016 at Ban Sam Khua School. The instruments of study comprised, 1) A collaborative learning management plan, 2) A learning achievement test, 3) A form to measure attitude toward science learning. The satistics used in data analysis were mean, standard deviation, and t-test for dependent samples.
The findings were as follows:
1. The arrangement of collaborative learning activities entitled ‘Growth and Human Body Systems’, Science Learning Substance Group for sixth graders had efficiency of 86.51/84.37 which met the criterion set at 80/80.
2. The learning effectiveness index of using collaborative learning activities entitled ‘Growth and Human Body Systems’, Science Learning Substance Group, for sixth graders was 0.7449 which showed that the students increased of their knowledge 74.49%.
3. The learning achievement through the use of collaborative learning activities entitled ‘Growth and Human Body Systems’, Science Learning Substance Group had significantly higher learning achievement after learning than that before learning at the .05 level.
4. The students who were arranged with collaborative learning activities entitled ‘Growth and Human Body Systems’, Science Learning Substance Group had attitude toward science learning as a whole at the highest level ( = 4.67, S.D. = .08).
คำสำคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบร่วมมือKeyword
Learning activitie, Collaborative learningกำลังออนไลน์: 15
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,632
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,621
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033