บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชามนุษย์กับศิลปะการดำเนินชีวิต แบ่งเป็น 4 สาขาวิชา ได้แก่ คหกรรมศาสตร์ พลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา ชีววิทยา และเคมี จำนวน 171 คน วิธีการดำเนินการวิจัยการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้กระบวนการกลุ่มย่อย และชุดสร้างความรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า จากการทำแบบทดสอบด้านการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 15.55 คะแนน นักศึกษาสาขาวิชาเคมี มีคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ มากที่สุด (17.09 คะแนน) และมีความสามารถด้านหลักการมากที่สุด (6.64 คะแนน) และการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 17.61 คะแนน นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยามีคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ มากที่สุด (19.34 คะแนน) และมีความสามารถด้านเนื้อหามากที่สุด (7.13 คะแนน)
จากการวิจัยในครั้งนี้ พบว่าการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือสามารถส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น ซึ่งการทำกิจกรรมกลุ่มย่อยมีการกำหนดสถานการณ์ปัญหาให้นักศึกษาได้ระดมความคิด มีแหล่งข้อมูลที่เสาะแสวงหาคำตอบเพื่อใช้แก้ไขปัญหา มีฐานการช่วยเหลือในการจัดสภาพแวดล้อมที่ให้นักศึกษามีทางเลือกในการหาคำตอบ รวมถึงมีอาจารย์คอยช่วยเหลือกระตุ้นความคิดให้นักศึกษาเลือกและตัดสินใจวิธีการได้คำตอบด้วยตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็น และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
Abstract
The research purposes are to study collaborative learning and teaching activity that support 1st year educational students’ analytical thinking skills. The research sample are 171 1st year educational students majoring in home economics, physical education and sport science, biology and chemistry. The research employs collaborative learning and teaching activity, small group discussion and knowledge construction set from constructivist theory for support students’ analytical thinking.
The research found that analytical thinking skill competence, students’ pre-test mean score are 15.55. The chemistry major students achieve the highest score (17.09) and also achieve the highest score in principle competence (6.64). The post-test mean score is 17.61. The biological major students achieve the highest score (19.34) and also achieve the highest score in content competence (7.13).
From the result, collaborative learning and teaching enhances higher students’ analytical thinking skills. In small group discussion, teacher assigned situational problems for students to participate in brain storming. Teacher provided information resources for problem solving and scaffolding in environment management for students finding solutions. Teacher helps to encourage students to choose and decide problem solving by themselves, brainstorming and knowledge exchanging with classmates.
คำสำคัญ
การเรียนการสอนแบบร่วมมือ, การคิดวิเคราะห์, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์Keyword
Collaborative learning, Analytical thinking, Constructivist theoryกำลังออนไลน์: 16
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,635
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,624
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033