...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2560
หน้า: 31-41
ประเภท: บทความวิจัย
View: 228
Download: 80
Download PDF
การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
Development of Art Activities Packages Based on Experiential Learning for Creative Thinking Enhancement of Kindergarten Level 1 Students
ผู้แต่ง
สุธิดา ฮวดศรี, อุษา ปราบหงษ์, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Sudthida Hurdsri, Usa Prabhong, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรม ศิลปะตามการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะตามการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ 3) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมศิลปะตามการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสีไค สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ก่อนและหลัง ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะตามการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสีไค สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งสิ้น 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมศิลปะตามการจัดการเรียนรู้เน้นประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการจัดกิจกรรมศิลปะตามการจัดการเรียนรู้เน้นประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ชุดกิจกรรมศิลปะตามการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.74/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสีไค หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะตามการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย (\bar{x}) เท่ากับ 2.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ .12

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop and out efficiency of Art Activities Packages based on experiential learning for creative thinking enhancement of Kindergarten level 1 students; 2) compare Kindergarten level 1 students’ creative thinking before and after learning through the developed Art Activities Packages; and 3) examine the satisfaction of Kindergarten level 1 students towards learning through the developed Art Activities Packages. The research employed a One–Group Pretest–Posttest Design. The samples, obtained through a Cluster Random Sampling technique, were 20 Kindergarten level 1 students form me classroom at Ban Kokseekai School under the office of Sakon Nakhon Educational Service Area 2 in the second semester of the 2014 academic year. Data collection and analysis involved both quantitative and qualitative data. The research instruments were 1) Art Activities Packages based on experiential learning for creative thinking enhancement of Kindergarten level 1 students; 2) Creative thinking assessment form; 3) Students’ satisfaction assessment form towards learning through the developed Art Activities Packages.

The findings were as follow:

1. The Art Activities Packages Packaged on experiential learning for creative thinking enhancement of Kindergarten level 1 students obtained the efficiency of 81.74/82.50 which was higher than that of defined criteria at 80/80

2. The Creative thinking of Kindergarten level 1 students at Ban Kokseekai School after the intervention had higher mean scores than the post–intervention mean scores at the .01 level of statistical significance.

3. The satisfaction towards learning through the developed art Activities Packages of Kindergarten level 1 student as a whole was at a high level with mean scores (\bar{x}) of 2.81 and Standard Deviation (S.D.) .12.

คำสำคัญ

ชุดกิจกรรมศิลปะ, การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์, ความคิดสร้างสรรค์

Keyword

Art Activities Packages, Experiential Learning, Creative thinking
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 2

วันนี้: 611

เมื่อวานนี้: 556

จำนวนครั้งการเข้าชม: 796,585

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033