บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการใช้สื่อจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี ตำบลสร้างค้อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวนรวม 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent Samples for t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.00/82.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
2. ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.47)
Abstract
The purposes of this study were: 1) to develop and find efficiency of a Thai language instructional activity package based on the Cooperative Learning Approach with the use of authentic materials to enhance eighth-grade students’ analytical reading ability according to the criterion set of 80/80, 2) to compare students’ analytical reading ability between before and after learning using the developed instructional activity package, and 3) to examine satisfaction of students with learning using the developed instructional activity package. The sample selected by Cluster Random Sampling was 33 eighth-grade students who enrolled in the first semester of academic year 2016 at Than Phu Ying Chanthima Phuong Baramee School, Sangkho sub-district, which was under the supervision of Secondary Education Service Area 23 Office. The instruments used for study this were: 1) the instructional activity package, 2) an ability test of analytical reading, and 3) a questionnaire asking students’ satisfaction with learning through the use of the developed instructional activity package. The statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.
The findings were as follows:
1. The developed instructional activity package had an efficiency index of 81.00/82.27 which was higher than the criterion set of 80/80.
2. The students’ ability of analytical reading after learning was significantly higher than that before learning at the .01 level.
3. The students’ satisfaction with learning through the developed instructional activity package was at the highest level ( = 4.64, S.D. = 0.47).
คำสำคัญ
ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน, แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, การใช้สื่อจริง, การอ่านเชิงวิเคราะห์Keyword
Instructional Activity Package, Cooperative Learning Approach, Use of Authentic Materials, Analytical Readingกำลังออนไลน์: 16
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,637
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,626
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033