บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดสมองเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความพร้อมทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 20 คน (Cluster Random Sampling) ซึ่งแบบแผนการวิจัยใช้แบบ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 2) แบบวัดความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัย 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความพร้อม ทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดสมองเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ 80.30/89.25 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. เด็กปฐมวัยมีความพร้อมทางด้านภาษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านภาษาตามแนวคิดสมองเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.85, S.D. = 0.15)
Abstract
The purposes of this research were to : 1) develop the Learning Activities Package to improve the preparedness of Early Childhoods Based on Brain Based Learning to achieve the efficiency of 75/75, 2) compare the early childhoods’ language preparedness between before and after learning through the developed Learning Activities Package, and 3) study the early childhoods’ satisfaction towards the set of developed Learning Activities Package.
The sampling group consisted 20 early childhoods of child Development Center, Srisongkram municipal district, Srisongkram District, Nakhon Phanom Province, in the first semester of academic year 2016. One Group Pretest–Posttest Design was employed for this study. Research Instrument use to 1) Activities Package to Improve the Preparedness of Early Childhoods Based on Brain Based Learning 2) The developed Learning Activities Package 3) The early childhoods’ satisfaction towards the developed Learning Activities Package to improve their language preparedness based on Brain Based Learning. The statistics used to analyses data were mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).
The results of this research were as follows:
1. The efficiency of the developed Learning Activities Package to improve the preparedness of early childhoods based on Brain Based Learning was 80.30/89.25 which was higher than the set criterion.
2. After learning through the developed Learning Activities Package, the language preparedness of treatment at the .05 level of significance.
3. The early childhoods’ satisfaction towards the developed Learning Activities Package to improve their language preparedness based on Brain Based Learning was at the highest level ( = 4.85, S.D. = 0.15).
คำสำคัญ
ความพร้อมทางด้านภาษา, ชุดกิจกรรม, สมองเป็นฐานKeyword
Preparedness, Package, Brain-Based Learningกำลังออนไลน์: 11
วันนี้: 1,285
เมื่อวานนี้: 1,202
จำนวนครั้งการเข้าชม: 973,522
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033