...
...
เผยแพร่: 18 ก.ค. 2562
หน้า: 1-13
ประเภท: บทความวิจัย
View: 524
Download: 199
Download PDF
การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู
A Development of Professional Learning Community Model to Enhancing Learning Management Competency for Teacher Education Students
ผู้แต่ง
กัลยา ชนะภัย, วิมลรัตน์ จตุรานนท์, อาพันธ์ชนิต เจนจิต
Author
Kallaya Chanapai, Wimonrat Chaturanon, Apunchanit Jenjit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการพัฒนานักศึกษาครูให้มีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพและคู่มือ ฯ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบและคู่มือฯ และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบฯ และคู่มือฯ ระยะที่ 2 การนำรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพไปใช้และการหาประสิทธิผลของรูปแบบฯ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การนำรูปแบบฯ และคู่มือฯ ไปใช้ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 6 คน ใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกการเรียนรู้ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพ โดยการบรรยายและพรรณนา

ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้

1. องค์ประกอบของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู    ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอน (3POR) ประกอบด้วย 3.1 การเตรียมการ (Prepare : P) 3.2 การวางแผน (Plan :P) 3.3 การปฎิบัติ (Practice : P) 3.4 การสังเกต (Observe : O) 3.5 การสะท้อนผล (Reflect : R) และ 4) การวัดผลประเมินผล และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยของคะแนน µ  = 4.10 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  \sigma = 0.11

2. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู โดยการนำรูปแบบฯ ไปทดลองใช้พบว่า นักศึกษาครูมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน และด้านการจัดการเรียนการสอนในครั้งที่ 3 และ 4 โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนน µ = 3.62 และ 4.01 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าครั้งที่ 1 และ 2 และนักศึกษาครูสามารถปฎิบัติได้ด้วยตนเอ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิผลของรูปแบบฯที่ได้กำหนดไว้


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 114

วันนี้: 646

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,198

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033