บทคัดย่อ
การพัฒนานักศึกษาครูด้านการออกแบบหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับการผลิตนักศึกษาครู รวมถึงการส่งเสริมให้นักศึกษาครูได้บูรณาการสะเต็มศึกษาและหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการเรียนการสอน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติของประเทศไทย ผู้เขียนจึงได้พัฒนานักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษาในรายวิชาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ด้วยกระบวนการเรียนการสอนซิกส์ไอส์ (Six Is) ที่สังเคราะห์ขึ้นจากการสืบสอบร่วมกับวิจัยเป็นฐาน มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ริเริ่มความคิด 2) พินิจวิจัยไขแนวทาง 3) สร้างภาพขอบเขต 4) อินเวสทิเกท ครีเอทเนื้อหา 5) ปรับปรุงพัฒนามาอภิปราย และ 6) นำเสนอชิ้นงานสุดท้ายได้เรียนรู้ร่วมกัน หลังจากเรียนรู้ด้วยกระบวนการดังกล่าว นักศึกษาทุกคนสามารถออกแบบหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ มีจำนวน 27 เรื่อง ลักษณะของหลักสูตรส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในสาขาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล มีหลักสูตรที่บูรณาการสะเต็มศึกษาจำนวน 14 เรื่อง และบูรณาการหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 13 เรื่อง
Abstract
Development of student teachers in local wisdom curriculum design has been a mission of higher education institutions dealing with student teachers production and promotion of STEM Education and the principles of the Sufficiency Economy philosophy into their instruction. The mission is consistent with the National Education Development Plan of Thailand. The authors therefore developed student teachers in the elementary education program who enrolled in the course of environment, community and local wisdom of the Faculty of Education, Nakhon Pathom Rajabhat University, using Six Is instructional process that was developed with inquiry-based Learning and research-based learning. The process consists of 6 steps as follows: 1) innovate ideas, 2) ideate from research, 3) illustrate scope with mind maps, 4) investigate and create contents, 5) improve prototype, and 6) infer product and process. After learning all the steps, the student teachers designed the local wisdom curriculum containing 27 subjects. Most of the curriculums were mainly about cultural heritage in the domain of knowledge about nature and the universe. There were 14 subjects that integrated with STEM Education and 13 subjects that integrated with the principles of the Sufficiency Economy Philosophy.
คำสำคัญ
การเรียนรู้แบบสืบสอบ, การเรียนรู้ที่ใช้วิจัยเป็นฐาน, หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นKeyword
Inquiry based learning, Research based learning, Local wisdom curriculumกำลังออนไลน์: 18
วันนี้: 547
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,536
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033